กระดาษนุ่นปุกปุย

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณานุวัฒน์สุขสว่าง

  • นัทธี จันทคีรี

  • พงษ์เทพสุริยะกำพล

  • นพกรกองศรี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประทุมคงเมือง

  • นิพนธ์ศิลาแลง

  • อุษาภิบาลวงษ์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนระยองวิทยาคม

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มุ่งที่จะศึกษาวิธีการนำเส้นใยจากปุยนุ่น มาทำกระดาษ เพื่อใช้กำจัดคราบน้ำมันในทะเลและชายฝั่งรวมทั้งน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชนต่างๆ และใช้ในงานประดิษฐ์ หรือใช้เป็นกระดาษสำหรับทำหีบห่อ จากผลการทดลองพบว่า เมื่อนำเส้นใยนุ่นมาต้มในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เข้มข้น 2.5 mol/1 30 นาที สามารถทำให้เส้นใยนุ่น จำนวน 2 g เปื่อยยุ่ยได้ดีที่สุด แต่เมื่อใช้เวลาต้ม หรือความเข้มข้นของสารละลายมากขึ้น เส้นใยจากปุยนุ่นจะเกาะตัวกันเป็นกลุ่มก้อน เมื่อนำเส้นใยซึ่งผ่านการต้มในสารละลาย NaOH ไปฟอกสีโดยการต้มกับผงซักฟอก ผงฟอกขาว ผงซักผ้าขาว ความเข้มข้นตั้งแต่ 2 g/น้ำ 125 cm3 เวลา 20 นาที เป็นต้น ไปสามารถฟอกสีของเส้นใยนุ่นได้ดีและสารส้มความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5 g/น้ำ 125 cm3 เวลา 20 นาที เป็นต้นไป สารถฟอกสีของเส้นใยนุ่นได้ดีมาก เมื่อนำไปทำเป็นแผ่น จะได้กระดาษที่นุ่มเบา มีความยืดหยุ่นดี ดูดซับน้ำมันได้ดีกว่าน้ำ ติดไฟง่าย แต่เมื่อปรับปรุงคุณภาพโดยการเติมแป้งเปียก กาวน้ำ กาวลาเทกซ์ สารส้ม แป้งเปียกผสมกับสารส้ม กาวน้ำผสมกับสารส้ม กาวลาเทกซ์ผสมกับสารส้ม พบว่าการเติมแป้งเปียกผสมกับสารส้ม และ กาวน้ำผสมกับสารส้ม จะทำให้กระดาษดูดซับน้ำได้น้อยลงและทนไฟได้ดีขึ้น ถ้าต้องการให้ได้กระดาษที่มีสีสวยงาม ก็สามารถทำได้ โดยการย้อมสีของเส้นใย(เยื่อกระดาษ) ก่อนทำให้เป็นแผ่นกระดาษ จากการทดลองพบว่าเยื่อกระดาษสามารถย้อมติดสีได้ดีทั้งสีธรรมชาติ สีย้อมผ้า และสีผสมอาหาร