สารครัวเรือนกำจัดลูกน้ำยุงลาย
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วรวุฒิ จองจินดาสกุล
สมชาย อิทธิบำรุง
สมรัฐ งามถิ่น
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อุษา เกตุเหลือ
พรพิมล ลีลาศิริคุณ
อุทัย เกตุพูลทอง
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
ไม่มี
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย มักจะพบในภาชนะที่ใส่ น้ำดื่ม น้ำใช้ ในครัวเรือน จากจานขาตู้กันมดทั้งตามแหล่งน้ำขังในครัวเรือน โครงงานนี้ได้ทำการศึกษาหาความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารครัวเรือนในการกำจัด ลูกน้ำยุงลายระยะที่ 3 อันได้แก่ ผงซักฟอกชนิดต่างๆ (detergent) สารส้ม น้ำส้มสายชู เกลือแกง และด่างทับทิม ผลปรากฏว่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายระยะที่ 3 ได้ 100% ของสารละลายผลซักฟอกชนิดต่างๆ คือ 0.04% สารละลายสารส้มคือ 6.08% สารละลายน้ำส้มสายชู คือ 0.5% สารละลายเกลือแกง คือ 1.00% และสารละลายด่างทับทิมคือ 0.08% เมื่อเรียงค่าความเข้มข้นของสารละลายครัวเรือนที่ใช้กำจัดลูกน้ำยุงลายระยะที่ 3 จากน้อยไปหามาก ได้ดังนี้ ผงซักฟอก ด่างทับทิม น้ำส้มสายชู เกลือแกง และสารส้ม ถ้าจะใส่ลงในน้ำดื่มน้ำใช้ ควรใส่สารละลายสารส้มความเข้มข้น 6.08% และในน้ำทิ้งควรใส่สารละลายผงซักฟอก 0.08% ส่วนสารครัวเรือนอื่นๆ อันได้แก่ น้ำส้มสายชู เกลือแกง และด่างทับทิม ก็ใช้ได้ตามความเหมาะสม ดังนั้นเราจะเห็นว่าสารครัวเรือน ดังได้กล่าวมาแล้วสามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายระยะที่ 3 ได้ โดยไม่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้