รายงานการใช้หนังสือนิทานชนเผ่าเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ฐิติยา จองหมุ่ง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ไม่มี

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ไม่มี

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษามัธยมปลาย

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาประยุกต์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาเรื่อง ผลการใช้หนังสือนิทานชนเผ่า เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือนิทานชนเผ่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ศึกษาผลการใช้นิทานชนเผ่า เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง และเพื่อศึกษาความพึ่งพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ที่มีต่อการใช้หนังสือนิทานชนเผ่า ในการพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ปีการศึกษา 2554จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) หนังสือนิทานชนเผ่า เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองจำนวน 12 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อประกอบการใช้หนังสือนิทานชนเผ่า เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองการศึกษาจำนวน 10 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้หนังสือนิทานชนเผ่า เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองการศึกษา จำนวน 1 ฉบับ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือนิทานชนเผ่า เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการหาประสิทธิภาพของบทเรียน ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ผลการศึกษาพบว่า 1.หนังสือนิทานชนเผ่า เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองการศึกษา ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 12 เล่ม มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 คือ มีประสิทธิภาพเฉลี่ยรวมเท่ากับ 85.62/88.17 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือนิทานชนเผ่า เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองการศึกษา มีคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.00 ซึ่งมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ50.00 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลปาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ที่มีต่อหนังสือนิทานชนเผ่า เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง การศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด