ผลของการเติม MnO2 ในสารประกอบ PZT-PMN เซรามิกสำหรับการประยุกต์เป็นหม้อแปลงไฟฟ้า เพียโซอิเล็กทริก

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ยุวดี สุวรรณ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • อนุสรณ์ นิยมพันธ์

  • รุ่งนภา ทิพากรฐิติกุล

  • พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาโลหะและวัสดุแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาผลของการเติม MnO2 (Manganese Dioxide) ที่มีต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติเพียโซ อิเล็กทริกของวัสดุเซรามิกระบบ Pb(Zr0.52Ti0.48) O3 Pb(Mg0.33Nb0.67)O3 (PZT PMN) สำหรับการประยุกต์เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าเพียโซอิเล็กทริก จากการศึกษาพบว่าการวิเคราะห์เฟสด้วยเทคนิค XRD วัสดุเซรามิกที่เตรียมได้ในทุกเงื่อนไขไม่มีการเปลี่ยนแปลงเฟส การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคด้วย SEM พบว่าเมื่อมีการเพิ่มปริมาณ MnO2 ขนาดเกรนของเซรามิกมีขนาดใหญ่ขึ้น ช่องว่างมีขนาดลดลงซึ่งสัมพันธ์กับค่าร้อยละการหดตัวเชิงเส้นและค่าความหนาแน่น ค่า d33 มีค่าอยู่ในช่วง 28.53 ถึง 114.19 pC/N เมื่อ MnO2 อยู่ในช่วง 0 ถึง 4 เปอร์เซ็นต์โดยโมลและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณ MnO2 ในขณะที่ค่าคงที่ไดอิเล็กทริกเมื่อวัดที่อุณหภูมิห้องและความถี่ 1 กิโลเฮิร์ต พบว่ามีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณ MnO2 แต่ค่าค่าสัมประสิทธิ์คู่ควบการเปลี่ยนแปลงพลังงานกล ไฟฟ้า (kp) และค่าสัมประสิทธิ์คุณภาพเชิงกล (Qm) มีค่าเพิ่มขึ้น