กัมมันตภาพรังสีจำเพาะของเรเดียม-226 ในน้ำพุร้อนของภาคใต้ประเทศไทย

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ฐิติรัตน์ เจริญตา

  • มารีน่า ตาเดอิน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ไตรภพ ผ่องสุวรรณ

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีธรรมชาติในน้ำพุร้อน โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำพุร้อนจำนวน 22 แหล่งจาก 7 จังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ใช้สารเรซินแลกเปลี่ยนไอออนเป็นตัวจับเรเดียมในน้ำ และวิเคราะห์หาค่ากัมมันตภาพเรเดียม 226 ด้วยสเปกโตรมิเตอร์รังสีแกมมา ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างน้ำพุร้อนทั้งหมดมีค่ากัมมันตภาพจำเพาะของเรเดียม 226 อยู่ในช่วง 0 3159 mBq/l โดยมีจำนวนน้ำพุร้อน 13 แหล่ง จาก 22 แหล่ง มีค่ากัมมันตภาพจำเพาะเกิน 111 mBq/l ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของทบวงการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา This work aims to study the contamination of natural radioactive Ra 226 in natural hot spring. Totally 22 hot spring samples were collected from 22 sites in 7 provinces of southern Thailand. Ion exchange resin was used to absorb radium dissolved in water and a low background HPGe gamma ray spectrometer was used to analyse for Ra 226. The results showed that the specific activities of Ra 226 ranged from 0.00 to 3159 mBq/l. Thirteen out of 22 hot spring samples have the Ra 226 content exceeding 111 mBq/l, which is the USEPA guideline level.