ดีบุกออกไซด์ที่เจือด้วยทองเพื่อใช้เป็นเซนเซอร์เอทานอล

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • เกียรติภูมิ กองจาย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • อัจฉราวรรณ กาศเจริญ

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ดีบุกออกไซด์เป็นสารกึ่งตัวนำที่มีค่าแถบพลังงานกว้างสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเซนเซอร์เอทานอลโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงสภาพความต้านทานของเซนเซอร์ การเจือดีบุกออกไซด์ด้วยทองคำทำให้สภาพไวของเซนเซอร์เอทานอลดีขึ้น จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าเซนเซอร์เอทานอลที่สร้างจากดีบุกออกไซดท์ ี่เจือด้วยทองคำในอัตราส่วน 70 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักมีการตอบสนองต่อไอเอทานอลดีขึ้นในงานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะศึกษาอิทธิพลของความดันที่ใช้ขึ้นรูปและอุณหภูมิที่ใช้เผาในการสร้างเซนเซอร์เอทานอลต่อสมบัติการตรวจจับไอเอทานอล โดยจะทำการทดลองเตรียมเซนเซอร์เอทานอลที่ใช้ความดันในช่วง 160 – 325 ตันต่อตารางเมตรและอุณหภูมิ 400 – 800 องศาเซลเซียส แล้วนำเซนเซอร์ที่เตรียมได้ไปทดสอบกับเอทานอลที่ความเข้มข้นต่างๆ Tin oxide, a wide band gap semiconductor, can be used as an ethanol sensor on the principle of resistivity change. Doping tin oxide with gold can improve sensitivity of ethanol sensor. From previous study,ethanol sensor fabricated from tin oxide doped with 70% gold by weight showed better responsivity toward ethanol vapor. In this work,we are interested in study the effect of pressing pressure and sintering temperature on ethanol sensing properties.Ethanol sensors have been prepared at pressure of 160–325 ton/m2 and at sintering temperature of 400 – 800°C . Then, these sensors will be tested toward ethanol vapor at various concentrations.