การวัดรังสีแกมมาของโพแทสเซียม ยูเรเนียม และทอเรียมในดินโดยใช้หัววัดเจอร์เมเนียมความบริสุทธิ์สูง

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ดวงชีวัน จันเครื่อง

  • ธารทิพย์ ก้อนแก้วมูล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พรรัตน์ ศรีสวัสดิ์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การวัดรังสีแกมมาในพื้นที่จริงโดยใช้หัววัดหัววัดเจอร์เมเนียมความบริสุทธิ์สูงซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อใช้วัดปริมาณ K 40, U 238 และ Th 232 ในดิน การวัดปริมาณและการวิเคราะห์รังสีจากตัวอย่างดินในพื้นที่จริงทั้งสี่บริเวณ ได้แก่ บริเวณทุ่งนาคลองหนองเหล็ก , สนามหญ้าหน้าหอพักหญิง 3 4 ของมหาวิทยาลัยนเรศวร , บ้านวังมะปราง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์และเหมืองแร่สุริยะ จ.เพชรบูรณ์ ได้ความแรงรังสีที่วัดจากพื้นที่จริงของโพแทสเซียม( 296.00 629.00 Bq/kg) , ยูเรเนียม(209.79 296.00 Bq/kg) และทอเรียม(29.60 74.00 Bq/kg) จากการเก็บตัวอย่างดินแล้วนำไปอบให้แห้ง จากนั้นนำมาร่อนบรรจุลงในกล่องพลาสติก หลังจากนั้นก็นำไปวัดในห้องปฏิบัติการโดยใช้เทคนิค Gamma Spectroscopy หาค่าความแรงรังสีของโพแทสเซียม (121.50 636.20 Bq/kg) , ยูเรเนียม(116.56 246.36 Bq/kg) และทอเรียม(15.40 67.74 Bq/kg)ความแรงรังสีที่วัดได้จากพื้นที่จริงเมื่อเทียบกับผลการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการพบว่ามีค่าใกล้เคียงกัน