การศึกษากระบวนการส่งผ่านสัญญาณของเซลล์: พลศาสตร์ของ G- proteins และตัวรับสัญญาณ
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จีราพร ลีลาวัฒนชัย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กระบวนการส่งผ่านสัญญาณระหว่างเซลล์ หรือระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ทำให้เซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้นมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน หรือ ติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอก อันเป็นผลให้เกิดกระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ เพื่อตอบสนองต่อสัญญาณนั้น ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของกระบวนการส่งผ่านสัญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจใน G proteins และตัวรับสัญญาณ อันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนดังกล่าว จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการแพทย์ ในการให้ยาและรักษาผู้ป่วย โดยโครงงานนี้จะศึกษากระบวนการส่งผ่านสัญญาณระหว่างเซลล์ โดยมุ่งเน้นการศึกษาไปที่พลศาสตร์ของ G proteins และตัวรับสัญญาณ โดยใช้ Mathematical model ที่อยู่ในบทความ Modelling of Signalling via G protein Coupled Receptors: Pathway Dependent Agonist Potency and Efficacy ในการอธิบายกลไกต่างๆของกระบวนการส่งผ่านสัญญาณ หลังจากที่ศึกษา model นี้แล้วจะทำการปรับปรุง model นี้ให้ดียิ่งขึ้นโดยนำผลของปรากฏการณ์ internalization ของตัวรับสัญญาณเข้ามาพิจารณาด้วย Signal transduction process is very essential for every living thing. This is the process of conversion of the signals that cells use to communicate among cells and their environments. The communication brings about many cellular activities in order to respond to the signal. Therefore, knowing and understanding this process especially about the dynamics of G proteins and receptors, which are the important parts in signal transduction process, could result in the great benefits to medical science particularly in drug and medical treatment.In this project, I study in signal transduction process and focus on dynamics of G proteins and receptors by using mathematical model, which is in an article Modelling of Signalling via G protein Coupled Receptors: Pathway Dependent Agonist Potency and Efficacy. This mathematical model is used in order to explain mechanism of signal transduction process. After learning this mathematical model, I am going to modify C.Y. Chen’s model by taking into account the internalization of receptors