การพัฒนาสารสกัดกานพลูในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ขี้ผึ้ง

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชนชนก สุมะนันท์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • รองเดช ตั้งตระการพงษ์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษานี้ดำเนินการขึ้นเพื่อตรวจสอบฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียของของขี้ผึ้งผสมสาร สกัดกานพลู ที่มีต่อเชื้อแบคทีเรีย 6 สายพันธุ์คือ Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Salmonella typhi, Klebsiella pneumoniae, Streptococcus group A และ Streptococcus group B โดยวิธี agar disc diffusion ขี้ผึ้งที่ผสมสารสกัดกานพลูมีผลแสดงถึงฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus group B ได้ดีที่สุด โดยมี Clear zone ขนาด 13 ± 0.56 มิลลิเมตร และสามารถยับยั้งเชื้อ Escherichia coli ได้น้อยที่สุดโดยมี Clear zone ขนาด 8.67 ± 0.07 ซึ่งในด้านการเก็บรักษาพบว่าเมื่อตรวจสอบหาระยะเวลาในการ สลายตัวของสารสกัดกานพลู โดยการนำสารสกัดกานพลูมาทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียทั้ง 6 สายพันธุ์ สัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ เมื่อคำนวณหาระยะเวลาในการสลายตัวพบว่ากานพลูจะสลายตัวได้ช้าที่สุด เมื่อทดสอบกับเชื้อ Streptococcus group A