ความหลากชนิดของปลาในหนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สันติ วาทิรอยรัมย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชุติมา หาญจวณิช
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดของปลาในหนองหานกุมภวาปี อำเภอ กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และศึกษาชนิดของอาหารที่พบในทางเดินอาหารของตัวอย่างปลาบางชนิด ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 จากจุดสำรวจ 4 แห่ง โดยเก็บตัวอย่างเดือนละ 1 ครั้ง ต่อ 1 จุดสำรวจ ผลการศึกษาพบปลาจำนวน 18 วงศ์ 46 ชนิด ประกอบด้วย วงศ์ปลาหมอ วงศ์ปลากด วงศ์ปลากระทุงเหว วงศ์ปลาสลิด วงศ์ปลาแป้นแก้ว วงศ์ปลาช่อน วงศ์ปลาหลดแคระ วงศ์ปลานิล วงศ์ปลาดุก วงศ์ปลาหมู วงศ์ปลาตะเพียน วงศ์ปลาบู่ทราย วงศ์ปลากระทิง วงศ์ปลาดุมชี วงศ์ปลากราย วงศ์ปลาเนื้ออ่อน วงศ์ปลาไหล และวงศ์ปลาปักเป้า วงศ์ที่พบจำนวนชนิดและจำนวนตัวมากสุด ได้แก่ วงศ์ปลาตะเพียน พบ 16 ชนิด ชนิดที่พบจำนวนตัวมากที่สุด คือ ปลาไส้ตันตาแดง (Cyclocheilichthys apogon) และปลาไส้ตันตาขาว (Cyclocheilichthys repasson) ผลจากการศึกษาชนิดอาหารในทางเดินอาหารของตัวอย่างปลาบางชนิด พบว่า ปลาบางชนิดเป็นปลากินสัตว์ บางชนิดเป็นปลากินพืช บางชนิดเป็นปลากินทั้งพืชและสัตว์ สำหรับปลาไส้ตันตาแดง (n=10) พบว่า กินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นหลัก ได้แก่ ออสตราคอด (ร้อยละ 23) โคพีพอด (ร้อยละ 17) คลาโดเซอรา (ร้อยละ 12) แมลงน้ำ (ร้อยละ 26) และพืชน้ำ (ร้อยละ 22)