ระบบคัดแยกขนาดปลาอัตโนมัติ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลภาพจากกล้องวีดีโอ
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สิมิลัน อาศัยพานิชย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐิติวรรณ ศรีนาค
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กระบวนการคัดแยกขนาดปลา ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย ปัจจุบัน กระบวนการนี้ใช้แรงงานคนเป็นหลัก และยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เราจึงเล่งเห็นว่า หากเราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการนี้ได้ จะช่วยให้อุตสาหกรรมประมงได้ประโยชน์มากขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพดังกล่าว คือการใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ภาพกับข้อมูลภาพจากกล้องวีดีโอ ภาพปลาที่ไหลมาตามสายพาน จะผ่านระบบประมวลผลเพื่อวิเคราะห์หาความยาวของปลาตัวนั้นๆ และนำค่าความยาวที่ได้ไปเปรียบเทียบกับข้อมูลในฐานข้อมูล ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นขนาดมาตรฐาน ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้นของระบบทางกลศาสตร์ที่สามารถแยกขนาดปลาออกจากกันได้จริงต่อไป ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมนี้ผ่านทางส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface) ที่สวยงาม, ใช้งานง่าย และไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญเฉพาะด้านทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมประมงได้จริง Fish size measurement and classification processes are ones of the most important processes in fishing industry. Nowadays, these processes are operated manually using many workers, and there often are mistakes in measurement and classification due to exhaustiveness and lack of experiences of workers. Therefore, improvement in the processes is needed. We apply computer based image processing techniques for automatic measurement and classification instead of human labor. Using a video camera, image sequences of fish on the flowing belt are taken. These image sequences are analyzed by our measurement system. The system determines the length of each fish, and also gets the fish standard size by comparing with the database. The fish standard size then can be input for the mechanic fish separation. Our measurement system is user friendly with nice interfaces. It is easy to work with. Thus, the system can be practically adapted for real use in the industry.