การวิเคราะห์ทางเคมีโดยใช้เครื่องตรวจวัดการนำไฟฟ้าแบบไม่สัมผัสสารละลาย

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุชาดา สัมฤทธิ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ดวงใจ นาคะปรีชา

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาเคมี

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ตัวตรวจวัดค่าการนำไฟฟ้าชนิดโลหะไม่สัมผัสสารละลาย หรือ C4D ได้รับความสนใจจากนักเคมีวิเคราะห์อย่างมากนับตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการรายงานการใช้ตัวตรวจวัดชนิดนี้กับเทคนิคคะปิลลารี อิเลคโตรโฟเรซิส ในปี พ.ศ. 2541 ซึ่ง C4D จะให้สัญญาณที่แปรตามอิมพิแดนซ์ของระบบวัดซึ่งขึ้นกับค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายที่ไหลผ่านในท่อ ในงานนี้ได้มีการสร้างตัวตรวจวัด C4D ขึ้นใช้เอง ทำด้วยท่อพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตนหรือ PEEK ที่ป้ายด้วยหมึกเงินด้านนอกเพื่อให้บางส่วนนำไฟฟ้าได้ โดยได้ศึกษาคุณสมบัติของตัวตรวจวัดที่ได้สร้างขึ้นนี้ พบว่าสัญญาณความต่างศักย์ที่วัดได้จากการแปลงค่ากระแสไฟฟ้าและด้วยวงจรขยายสัญญาณ ให้ความสัมพันธ์เป็นเชิงเส้นกับความเข้มข้นของโปแตสเซียมคลอไรด์ และ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ตัวตรวจวัดชนิดนี้สามารถที่จะนำไปพัฒนาต่อเพื่อเป็นเซนเซอร์ภาคสนามได้ และยังเหมาะสมจะนำไปใช้เพื่อเป็นตัวตรวจวัดในเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ประเภท โครมาโตกราฟีได้อีกด้วย