นกและถิ่นที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปีย์ชนิตว์ เกษสุวรรณ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วิสุทธิ์ ใบไม้
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาชนิดและถิ่นที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก กรณีศึกษาชุมชนวัดอรัญญิกและชุมชนเมือ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2542 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2542 ทำการสำรวจเวลา 7.00 น. 12.00 น. และ เวลา 16.00 น. 18.00 น. สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ใช้พื้นที่สำรวจ ประมาณ 6 ตารางกิโลเมตร ทั้ง 2 พื้นที่ โดยทำการสำรวจชนิด จำนวนนกในพื้นที่ ความชุกชุม และพฤติกรรมทั่วไป พบนกรวมทั้งหมด 9 ออเดอร์ 22 แฟมิลี 55 สปีชีส์ ในเขตชุมชนวัดอรัญญิก พบนก 55 สปีชีส์ 22 แฟมิลี 9 ออเดอร์ นกกระจอกบ้าน มีค่าเฉลี่ยที่พบต่อครั้ง สูงที่สุดคือ 29.9ตัว/ครั้ง , 30.08 ตัว/ครั้ง ในช่วงเวลาเช้า และ 29.27 ตัว/ครั้ง ในเวลาเย็น นกกระจอกป่าท้องเหลือง มีค่าเฉลี่ยที่พบต่อครั้งน้อยที่สุดคือ 0.04 ตัว/ครั้ง , 0.08 ตัว/ครั้ง ในเวลาเช้า และไม่พบในเวลาเย็น นก 7 ชนิดคือ นกพิราบป่า นกเด้าดินทุ่ง นกปรอทสวน นกกางเขนบ้าน นกอีแพรดแถบอกดำ นกเอี้ยงสาลิกาและนกกระจอกบ้าน มีความชุกชุมสูงสุด คือร้อยละ 100 ทุกช่วงเวลาเช้า นกกระจอกป่าท้องเหลืองมีความชุกชุมน้อยสุด คือ ความชุกชุมตลอดช่วงเวลา คือ ร้อยละ 4 ช่วงเช้า คือ ร้อยละ 2 และไม่พบในเวลาช่วงเย็น สภาพแหล่งที่อยู่ของนกคือ ทุ่งนาโล่ง สวน ทุ่งหญ้าสูง และอาคารบ้านเรือน ในเขตชุมชนเมือง พบนก 22 สปีชีส์ 15 แฟมิลี 4 ออเดอร์ นกเอี้ยงหงอน มีค่าเฉลี่ยรวมที่พบต่อครั้งมากที่สุดคือ 97.72 ตัว/ครั้ง และมีค่า 187.2 ตัว/ครั้ง ในช่วงเย็นแต่ในช่วงเวลาเช้านกกระจอกบ้านจะมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 39.68 ตัว/ครั้ง นกอีเสือลายเสือ มีค่าเฉลี่ยที่พบที่น้อยที่สุดคือ 0.06 ตัว/ครั้ง , 0.04 ตัว/ครั้ง ในเวลาเช้า และเย็น นก 6 ชนิด คือ นกพิราบป่า นกกางเขนบ้าน นกอีแพรดแถบอกดำ นกเอี้ยงสาริกา นกเอี้ยงหงอน และนกกระจอกบ้าน มีความชุกชุมสูงสุดคือ ร้อยละ 100 ทุกช่วงเวลาเช้า นกอีเสือลายเสือ มีความชุกชุมรวมทุกช่วงเวลาน้อยที่สุด คือร้อยละ 6, ร้อยละ 4 ในเวลาเช้าและร้อยละ 8 ในช่วงเวลาเย็น สภาพแหล่งที่อยู่ของนกคือ อาคารบ้านเรือน สวนสาธารณะ ตลิ่งแม่น้ำ นกที่พบทั้ง 2 พื้นที่ มีค่าสะสมชนิดที่พบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีค่ามากสุดประมาณช่วงการสำรวจครั้งที่ 7 11 ซึ่งส่วนมากจะเป็นนกที่อพยพมาในพื้นที่ในช่วงหน้าหนาว นกแต่ละชนิดมีแบบแผนการใช้พื้นที่ค่อนข้างแน่นอน เนื่องจากสามารถพบเห็นนกในบริเวณเดิม ช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันได้แทบทุกครั้งการสำรวจพบบกหลายชนิดมีความสัมพันธ์กับนกชนิดอื่นๆ และพบว่ามีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ค่อนข้างเป็นรูปแบบ แนวทางในการศึกษาต่อคือการศึกษาอย่างเจาะจงในพฤติกรรม การใช้พื้นที่ของนกเช่น การแบ่งเขตทำกิน การแบ่งเวลาอาศัยในพื้นที่ของนกทั้งชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน อาหารของนกในพื้นที่สำรวจ การสร้างรัง ฯลฯ ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงานนี้คือ การได้ฝึกทำงานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ภายนอกห้องปฏิบัติการ และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการจัดสรรสรรพยากรนก ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด