การบำบัดน้ำเสียชุมชนโดย หน่วยบำบัดน้ำเสียเคลื่อนที่ (Mobile Unit)

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • แบ๊งค์ งามอรุณโชติ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วรินธร สงคสิริ

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

นับตั้งแต่อดีตมาแล้ว นักวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีความประหยัดต่อขนาด (Economy to scale) และคุ้มค่าที่สุดนั้นก็คือ การทำระบบบำบัดแบบรวม ทว่าสำหรับผมที่เป็นทั้งนัก (อยากทำ) วิจัยทางวิทยาศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ (ฝึกหัด) แล้วนั้น ดูจะมีสมมติฐาน และความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องรองรับกับแนวความคิดที่ว่านี้ซักเท่าไหร่นัก เนื่องจากในทางเศรษฐศาสตร์แล้วนั้น เราต้องพิจารณาถึงต้นทุนที่มองไม่เห็น (lnvisible cost) ด้วยในการพิจารณาอย่างลึกซึ้งถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้ผมไม่คิดว่าการปล่อยให้น้ำเสียที่ถูกปล่อยออกมาจากบ้านเรือนการเกษตร โรงงานขนาดย่อม และโรงงานขนาดใหญ่ไหลไปเรื่อย ๆ จนรวมกันให้ได้ปริมาณที่มาก ๆ และค่อยบำบัดที่เดียวจะเป็นการคิดที่มีการรวมตัวเอาต้นทุนที่มองไม่เห็นดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นรวมเข้าไปด้วย ผมยกตัวอย่างว่า หากระหว่างทางที่น้ำเสียอันมีกลิ่นเน่าเหม็นไหลผ่านไปตามสถานที่แห่งท่องเที่ยว จะมิทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวซึ่งเข้ามาในประเทศไทยลดลงไปกว่าที่ควรจะเป็นหรืออย่างไร ? หากหน่วยเกษตรทิ้งของเสียที่มีส่วนผสมของธาตุปุ๋ยลงในแหล่งน้ำจะไม่ทำให้เกิดปัญหาพืชสวะกระจายตัวมากจนทำให้ปิดบังแสงจนทำให้พืชใต้น้ำ และสัตว์น้ำตายลง ตลอดจนการก่อให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศและสายใยอาหารในระบบเปิดนั้นจะไม่ก่อผลกระทบได้อย่างมากมายมหาศาลหรืออย่างไร ? การที่ผู้โดยสารผ่านทางเรือแล้วต้องสัมผัสกับละอองน้ำจากแม่น้ำซึ่งมีสารอนินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่ทุกวันนั้นจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว และการตายก่อนกำหนดของสุขภาพที่ได้รับผลต่อปัจจัยเบื้องต้นนั้น ถือได้ว่าเป็นการทำให้ประเทศชาติขาดกำลังแรงงานที่ควรจะมีไปส่งผลให้ GOP or National lncome ของเราลดลงหรือไม่ ? คำถามเล็กน้อยที่ผมได้ยกขึ้นมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่จะสามารถสะท้อนให้เราได้เห็นว่า การนำระบบบำบัดแบบย่อยที่ค่อย ๆ บำบัดคุณภาพน้ำที่ละช่วงให้ลดทอนความรุนแรงของปัญหาลงนั้นมีคุณูปการอย่างไร โครงงาน “การบำบัดน้ำเสียชุมชนโดย หน่วยบำบัดน้ำเสียเคลื่อนที่ (Mobile Unit)” นี้ตั้งขึ้นมาเพื่อเป้าประสงค์หลักสำคัญที่จะตอบโจทย์ทั้งหมด 3 มิติด้วยกันนั้นก็คือมิติในทาง วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์