ผลการไคโตซานต่อการให้ผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตของยางพารา
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
มนัสนันท์ คล้ายเพชร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มงคล สุขวัฒนาสินิต
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ไคโตซานมีสมบัติที่ดีหลายประการ ซึ่งมีผู้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ มากกมาย เช่น การแพทย์ และเภสัชกรรม และเกษตรกรรม ละเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่เห็นเด่นชัดในจังหวัดสุราษฎรธานีก็คือ การทำสวนยางพารา ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรเป็นปริมาณมาก ดังนั้นการใช้สารไคโตซานแทน จะสามารถลดการใช้สารเคมีทางเกษตรที่เป็นอันตราย และลดการนำเข้าสารเหล่านี้จากต่างประเทศ มีรายงานหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าสาร ไคโตซานสามารถนำมาใช้ในการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณค่าของการผิตได้ประกอบกับการได้เรียนรู้กลไกการตอบสนองของพืชต่อไคโตซานจึงคิดจะนำไคโตซานมาทำการทดสอบในการกระตุ้น กับต้นยางพารา และทำการวัดผลของไคโตซานที่มีต่อต้นยาง และการให้น้ำยางของยางพารา และจากงานวิจัยหลายชิ้นยังได้แสดงให้เห็นว่า การที่จะใช้สารไคโตซานให้ได้ผลดีนั้น ต้องมีการปรับโครงสร้างให้เหมาะสมก่อน แล้วจึงนำมาใช้ได้ แล้วจึงคิดที่จะทำการวัดผลของขนาดพอลิเมอร์ความเข้มข้นและ %DD ของไคโตซาน ที่มีการใช้น้ำยางของยางพารามากที่สุด นอกจากนี้ยังจะได้ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำยางพาราที่ได้จากการใช้สารไคซาน เพื่อเป็นแนวทางให้เข้าใจถึงกลไกการตอบสนองของพืชที่มีต่อไคซาน ในแง่เป็นสารกระตุ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทางการเกษตร และการผลิต ส่งออกยางพารา และข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ผลิตสารไคโตซานเพื่อการเกษตรต่อไป