การพัฒนารูปแบบการส่งสัญญาณโดยใช้เลเซอร์

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วนรักษ์ ชัยมาโย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธิติ บวรรัตนารักษ์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่อง การพัฒนารูปแบบการส่งสัญญาณโดยใช้เลเซอร์มีแนวความคิดมาจากการสื่อสารในปัจจุบันที่มีข้อจำกัดด้านการติดตั้งอุปกรณ์ ระยะทางในการส่งสัญญาณและความปลอดภัยของการส่งข้อมูลที่เป็นความลับ ผู้ทำโครงงานจึงต้องการสร้างอุปกรณ์ที่สามารถติดตั้งสะดวก ระยะทางการส่งสัญญาณพอสมควร มีความปลอดภัยของข้อมูลในระดับหนึ่ง และที่สำคัญที่สุดสามารถสร้างได้โดยอาศัยหลักการอย่างง่าย เมื่อพิจารณาคุณสมบัติของเลเซอร์ก็พบว่า เลเซอร์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความเข้มสูง เดินทางได้ไกลพอประมาณและเป็นเส้นตรง ซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่ต้องการสร้าง โครงงานนี้จึงเป็นการสร้างชุดทดลองที่มีแสงเลเซอร์เป็นส่วนประกอบหลัก โดยอาศัยหลักการทางกลศาสตร์และทัศนศาสตร์อย่างง่าย ชุดทดลองประกอบด้วยภาคส่งสัญญาณและภาครับสัญญาณ ลักษณะการทำงานของชุดทดลองคือแสงเลเซอร์จากเลเซอร์ไดโอดจะตกกระทบกับแผ่นกระจกเงาที่ติดไว้ที่กรวยลำโพง เมื่อกรวยลำโพงสั่นจากการจ่ายสัญญาณ Input แสงเลเซอร์ที่สะท้อนออกมาจากแผ่นกระจกเงา จะมีทิศทางเบี่ยงเบนตามจังหวะการสั่นของแผ่นกระจก เมื่อแสงเลเซอร์ที่มีจังหวะการเบี่ยงเบนนั้นตกกระทบกับตัวรับสัญญาณที่ยู่ในภาครับสัญญาณ ภาครับสัญญาณก้จะจ่ายสัญญาณ Output ที่มีแนวโน้มตามจังหวะการเบี่ยงเบนของแสงที่ตกกระทบ นั่นคือ สัญญาณ Output จะคล้ายกับสัญาณ input นั่นเอง