การเตรียมและหาลักษณะเฉพาะของเซรามิก อะลูมินา-แมกนีเซีย

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประดับ ตันตะวาโย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • อรวรรณ ฤทธิเดช

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ได้ทำการเตรียมเซรามิกอะลูมินาที่เจือด้วยแมกนีเซียมออกไซด์ ที่สัดส่วนการเจือระหว่าง 0.02 ถึง1.20 ร้อยละโดยนํ้าหนัก โดยวิธีโซลิตสเตทรีแอกชั่น โดยอาศัยเทคนิคการบดยอ่ ยแบบบอลมิลลิ่ง และใช้อุณหภูมิในการเผาซินเตอร์เซรามิกที่ 1650 องศา นาน 2 ชั่วโมง ด้วยอัตราขึ้น/ลง 5 องศาเซลเซียส/นาที ได้ศึกษาการก่อเกิดเฟสของสารละลายของแข็งเซรามิกอะลูมินา–แมกนีเซีย ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ พบว่ารูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ที่ได้มีเฟสหลักตรงกับแฟ้มข้อมูลมาตรฐานของอะลูมินาหมายเลข 75 1863 พบความเข้มของเฟสแมกนีเซียมากขึ้นตามสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และที่ความเข้มข้นของแมกนีเซียตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป พบการเกิดขึ้นของเฟสสปิเนล เมื่อศึกษาลักษณะสัณฐานทางจุลภาคโดยเทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่าลักษณะของเกรน กลม รี ปะปนด้วยรูปร่างที่เป็นแท่งยาว โดยรูปร่างที่เป็นแท่งยาวมีมากขึ้นตามสัดส่วนแมกนีเซียที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อวัดขนาดของเกรนเซรามิกพบว่า มีแนวโน้มที่จะลดลงตามปริมาณการเจือแมกนีเซียที่เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเจือแมกนีเซียมีผลต่อการควบคุมการเติบโตของเกรนเซรามิกอะลูมินา เมื่อศึกษาคุณสมบัติเชิงกลโดยเครื่องทดสอบวัดค่าความแข็งแบบวิกเกอร์ พบว่าเซรามิกมีค่าความแข็งมากขึ้นตามสัดส่วนการเจือแมกนีเซียที่เพิ่มขึ้น และให้ค่าความแข็งที่มากที่สุดที่สัดส่วนแมกนีเซียเท่ากับ 0.30 ร้อยละโดยน้ำหนัก ดังนั้นเฟสสปิเนที่เกิดขึ้นทำให้ค่าความแข็งของเซรามิกลดลง