เตาเผาถ่านเคลื่อนที่
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สำเนียงดวงภุมเมศร์
ดนัยผินประดับ
สำเนาดวงภุมเมศร์
ขวัญฤทัยแซ่เตียว
พุทธชาดเพชรรักษา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เสาวนีย์ทองภูเบศร์
พนมทองภูเบศร์
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
ไม่มี
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากวิธีการเผาถ่านจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเช่น กะลามะพร้าว ของชาวบ้านโดยทั่วไปแล้ว เป็นการเผาในถังน้ำมันขนาดบรรจุ 200 ลิตร โดยมิได้ดัดแปลงอะไรเลย มีหลักการเผาคือก่อไฟในถังน้ำมันแล้วจึงใส่วัสดุที่ต้องการเผาลงไปจนเต็มถัง รดจนไฟลุกแดงแล้วจึงใช้กระสอบป่านซับน้ำมาปิดปากถังและใช้ดินโบกปากถังซึ่งทำให้สิ้นเปลืองกระสอบมาก เพราะการเผาแต่ละครั้งจะใช้กระสอบไม่ต่ำกว่า 1 ใบ ส่วนเตาเผาถ่านขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติก็ไม่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยเพราะเมื่อวัสดุเผาเป็นถ่านได้ที่แล้วจะต้องคว่ำเตา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ทำการเผาได้ อีกทั้งถ่านที่ได้ก็อาจแตกละเอียด ซึ่งจะได้ถ่านประมาณร้อยละ 25 โดยน้ำหนัก ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงคิดว่าน่าจะมีเตาเผาถ่านที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อเวลาที่ถ่านลุกแดงดีแล้วไม่ต้องคว่ำถังหรือไม่ต้องใช้กระสอบป่านซับน้ำปิดปากถัง อีกทั้งเวลาในการเผาก็ไม่ควรใช้เวลามากนัก และสามารถขนย้ายเตาไปยังที่ใดๆ ก็ได้จึงได้ร่วมกันคิดค้นและดัดแปลงการทำเตาโดยเอาเตาเผาถ่านของชาวบ้านมาผสมผสานกับเตาเผาถ่านขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ มาทำเป็นเตาเผาถ่านที่มีประสิทธิภาพดีกว่า ภายใต้ชื่อเตาเผาถ่านเคลื่อนที่ ซึ่งหลักการทำงานของเตาเผาถ่านเคลื่อนที่นี้คือ การเผาในที่ๆ อับชื้นหรือไม่ให้อากาศผ่านเข้าไปได้มากนัก เมื่อจะเริ่มทำการเผาให้เปิดรูด้านข้างออกทั้งสามรูและเริ่มจุดไฟ โดยใส่วัตถุดิบลงไป 1 ใน 3 ของถัง พอถ่านเริ่มไม่มีควันก็ให้อุดรูช่องที่ 1 ต่อมาก็ใส่วัตถุดิบลงไปเป็น 2 ใน 3 ของถัง พอถ่านเริ่มไม่มีควันก็ให้อุดรูช่องที่ 2 แล้วจึงใส่วัตถุดิบให้เต็มถัง พอถ่านลุกแดงดีแล้วก็ให้อุดรูช่องที่ 3 และปิดปากถัง โดยใช้ดินโบกปากถังแล้วจึงปิดฝาและขันน๊อตให้แน่น ทิ้งไว้ค้างคืน ผลการเผาถ่านจากกะลามะพร้าวพบว่าได้ถ่านเฉลี่ยร้อยละ 33.66 โดยน้ำหนัก ดังนั้นเตาเผาถ่านเคลื่อนที่จึงมีประโยชน์สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้