การจำลองสภาพอากาศจากผลกระทบของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง ความกดอากาศสูง และร่องมรสุม
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชัยณรงค์ รักธรรม
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศรีเพ็ญ ท้าวตา เจียมใจ เครือสุวรรณ
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการจำลองสภาพอากาศโดยแบบจำลอง WRF ช่วงวันที่ 29 ตุลาคม จนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พื้นที่ศึกษาครอบคลุมประเทศไทย และบริเวณใกล้เคียง พบว่า 1) มีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่อิทธิพลมาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ก่อให้เกิดลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปะทะกับเทือกเขาสูงทางภาคเหนือ เกิดการพัดเข้าหากันของอากาศในแนวราบ และการเคลื่อนที่ขึ้นของอากาศในแนวดิ่ง ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศบริเวณผิวพื้นจนถึงความสูง 6 กิโลเมตร ประมาณร้อยละ 85 100 เปรียบเทียบกับกราฟ skew T พบว่า อุณหภูมิจุดน้ำค้างและอุณหภูมิของอากาศ ห่างกันไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส สรุปได้ว่ามีเมฆและหมอกในบรรยากาศ 2) แบบจำลองคำนวณปริมาณฝนได้ ประมาณ 1 และ 3.8 มิลลิเมตร ในวันที่ 1 และ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ตามลำดับ ซึ่งเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำฝนที่ได้จากการตรวจวัด วัดได้ 0.7 และ 19 มิลลิเมตร ตามลำดับ 3) อุณหภูมิต่ำสุดจากการคำนวณ และจากการวัด ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ประมาณ 19.5 และ 19.7 ตามลำดับ และเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูหนาวในประเทศไทย