จุลกายวิภาคศาสตร์และชีววิทยาพื้นฐานของระบบภูมิคุ้มกันของไรน้ำนางฟ้าสิรินธร (Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weeker & Dumont, 2000)
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จุมาพร โสหนองบัว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พรพิมล เจียระนัยปรีเปรม
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาไรน้ำนางฟ้าสิรินธร (Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weeker & Dumont, 2000) ครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. การศึกษาลักษณะทางจุลกายวิภาค โดยใช้เทคนิคพาราฟินย้อมด้วยสี hematoxylin และ eosin ผลการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่า ระบบทางเดินอาหารเป็นท่อตรง บริเวณปล้องหัวมีการโป่งออกเป็นกระเปาะ (diverticula) เนื้อเยื่อบุผิวหลักที่พบเป็นsimple columnar epithelium ระบบหมุนเวียนเลือดเป็นระบบเปิด หัวใจเป็นท่ออยู่เหนือทางเดินอาหาร พบได้ตั้งแต่ปล้องหัวไปจนถึงปล้องท้อง หัวใจมีช่องเปิดด้านข้างปล้องละ 1 คู่ เนื้อเยื่อบุผิวหัวใจเป็น simple squamousepithelium ระบบสืบพันธุ์เพศผู้ ประกอบด้วย testis, vas deferens และ penis ระบบสืบพันธุ์เพศเมียประกอบด้วย ovary, shell gland และ ovisac 2. การศึกษาระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบด้วย การศึกษาลักษณะเซลล์เม็ดเลือดด้วยวิธี simple smear และการวัดค่าจำนวนเม็ดเลือดโดยรวม (total hemocytes) เมื่อให้เชื้อAeromonas hydrophila ด้วย hemacytometer ผลการศึกษา พบว่า เซลล์เม็ดเลือดของไรน้ำนางฟ้าสิรินธรแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ เซลล์ผิวเรียบรูปร่างกลมหรือรี และเซลล์รูปร่างไม่แน่นอนที่มีการแตกแขนงของไซโตพลาสซึม ส่วนค่าจำนวนเม็ดเลือดโดยรวมพบว่า ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) Abstract: Study of adult fairy Shrimps (Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers& Dumont, 2000) was divided into two parts. The first part was study of histological structure by routine histological technique using hematoxylin and eosin stain and examined with a light microscopy. The alimentary system showed a simple tubular canal and appeared as diverticula in its anterior part. Mucosal layer was mainly covered with simple columnar epithelium. The cardiovascular system was an opened system placing along the body from the head to abdomen. The heart showed simple squamous epithelium lining and attached above the gut. Male reproductive system was composed of a pair of testis, vas deferens and penis. Female reproductive system consisted of ovary, shell gland and ovisac. The second part was studying of defence system by simple smear technique and measureing total hemocytes by hemacytometer when the fairy shrimps were treated with Aeromonas hydrophila. The hemolymph smear technique showed two types of cells including round or oval shaped cells and irregular cell shape with cytoplasmic process. The result of total hemocytes between control group and experimental group were not different (p > 0.05).