แนวทางการบริหารงานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ตามทัศนคติของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ผกาพรรณ์ คำริม

  • กัลยา บุญหล้า

  • จิตรี ฤทธิ์เนติกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ศรีวรรณ ฤกษ์ภูริทัต

  • ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านธุรการ ด้านบุคคล และด้านการเงิน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวนผู้ผลิต 63 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ผลิตมีแนวทางการบริหารงานโดยปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับกลุ่มอื่นๆ และมีการแข่งขันด้านคุณภาพสินค้าระหว่างกลุ่ม สมาชิกภายในกลุ่มเป็นบุคคลในท้องถิ่นหรือพื้นที่ใกล้เคียง และมีการวางแผนงบประมาณทางการเงิน ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่มผู้ผลิตโดยภาพรวม คือ ขาดแคลนเงินทุนและเครื่องมือที่ทันสมัย และกลุ่มผู้ผลิตมีความต้องการในการพัฒนาการดำเนินงาน คือ ต้องการแหล่งเงินทุนสนับสนุนที่มีดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย

The purpose of this study was to determine the guideline for one Tambon one product management. Managerial aspects to be studied were manufacturing, marketing, management, human resource, and finance. The subjects used in this consisted of 63 producer groups and data were collected using questionnaires. The analysis were performed using frequencies, percentages, and averages. The results indicated that producer groups tended to manage by improving and developing manufacturing process to reach the standard, constructing the network with other groups. Among groups, quality of products were also competed. Most members of producer groups were local people or people living in the vicinities and have a plan for monetary budget. The main obstacles were to lack of capital and modern instruments. Moreover, they also needed support from monetary institution with low interest or without interest.