การศึกษาทางวิทยาเนื้อเยื่อของอวัยวะสืบพันธุ์ใน Strombus canarium (Gastropoda: Mesogastropoda)

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ดาร์เนีย เจ๊ะหะ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จินตมาศ สุวรรณจรัส

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

หอยชักตีน (Strombus canarium) เป็นกลุ่มหอยฝาเดียวในวงศ์ Strombidae ที่รับประทานได้และเป็นที่นิยม ทำการศึกษาอวัยวะสืบพันธุ์โดยสุ่มเก็บตัวอย่างจากเกาะศรีบอยา และเกาะปู จังหวัดกระบี่ ช่วงเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2550 แล้วย้อมสีชิ้นเนื้อเยื่อจากรังไข่และอันฑะด้วย Hematoxylin และ Eosin(H&E) และ Mollary’s trichome พบว่าสเปิร์มในเพศผู้มี 2 รูปแบบ ได้แก่ สเปิร์มที่ไม่เป็นหมัน คือ euspermกับสเปิร์มที่เป็นหมัน คือ parasperm โดย Euspermatogenic cell แบ่งได้ 4 ระยะได้แก่ euspermatogonium,primary และ secondary euspermatocyte และ euspermatozoa ส่วนParaspermatogenic cell แบ่งได้ 3 ระยะได้แก่ paraspermatocyte, paraspermatid และ paraspermatozoa ในเพศเมีย oogenic cell แบ่งได้ 4 ระยะได้แก่ oogonium, pre vitellogenic oocyte, vitellogenic oocyte และ mature oocyte ส่วนการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์จำแนกได้ 6 ระยะ และได้บรรยายในการศึกษาครั้งนี้ด้วย