รูปแบบกระแสไฟฟ้าไอออนรอบๆเซลล์สาหร่ายน้ำจืดวงศ์ Characeae

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชิตนนท์ บูรณชัย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ปณต ถาวรรังกูร

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ใช้ “ระบบไวเบรติงโพรบ” (Vibrating Probe System) ที่วัดได้ใน 2 มิติ (แกนX และแกน Y) ศึกษารูปแบบของกระแสไฟฟ้าไอออนรอบเซลล์สาหร่ายน้ำจืดวงศ์ Characeae ในสภาวะปกติ และเมื่อเติมสารพิษจำพวกโลหะ ในที่นี้คือ อะลูมิเนียมในรูป ![Al^{3+}](/latexrender/pictures/e91/e91b6d8fafdaabee59c0bdc87bdf2c30.gif) วัดกระแสไฟฟ้าไอออนรอบๆเซลล์ลำดับที่ 3 และลำดับที่ 5 จากจุดที่งอก ในสภาวะปกติกระแสไฟฟ้าไอออนรอบๆเซลล์ลำดับที่ 3 ทิศพุ่งเข้าสู่เซลล์เกือบทุกตำแหน่ง ด้วยขนาดในช่วง 0.091 – 1.262![uA/cm^2](/latexrender/pictures/e91/0df/0df976f824598090b78c9dc85eedf586.gif) ส่วนในเซลล์ลำดับที่ 5 กระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่มีทิศเข้าสู่เซลล์ด้วยขนาด 0.091 – 0.443 ![uA/cm^2](/latexrender/pictures/e91/0df/0df/0df976f824598090b78c9dc85eedf586.gif)เมื่อเติม ![Al^{3+}](/latexrender/pictures/e91/0df/0df/e91/e91b6d8fafdaabee59c0bdc87bdf2c30.gif) พบว่าในเซลล์ลำดับที่3 จะมีบางจุดที่กระแสไฟฟ้าเปลี่ยนทิศจากเข้าสู่เซลล์เป็นออกจากเซลล์ ในจุดอื่นๆทิศของกระแสไฟฟ้าไม่เปลี่ยนแปลง ขนาดของกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นโดยมีขนาดในช่วง 0.035 – 1.414 ![uA/cm^2](/latexrender/pictures/e91/0df/0df/e91/0df/0df976f824598090b78c9dc85eedf586.gif)กรณีของเซลล์ลำดับที่ 5 เมื่อเติม ![Al^{3+}](/latexrender/pictures/e91/0df/0df/e91/0df/e91/e91b6d8fafdaabee59c0bdc87bdf2c30.gif) กระแสไฟฟ้าในเกือบทุกตำแหน่งมีทิศเข้าสู่เซลล์ด้วยขนาดที่เพิ่มขึ้น โดยค่าของกระแสไฟฟ้าอยู่ในช่วง 0.038 – 0.932 ![uA/cm^2](/latexrender/pictures/e91/0df/0df/e91/0df/e91/0df/0df976f824598090b78c9dc85eedf586.gif)