การวิเคราะห์แอนติออกซิแดนท์แคบพาซิตี ในผลไม้ไทยด้วยเทคนิคทางเคมีไฟฟ้า
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุทธพงษ์ มหาสิทธิวัฒน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ดวงใจ นาคะปรีชา
วเรศ วีระสัย
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ภายในร่างกายของคนเราเมื่อเกิดการเผาผลาญอาหาร นอกจากได้พลังงานแล้วยังได้อนุมูลอิสระซึ่งสารดังกล่าวนี้จะมีผลทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอ ถ้ามีในปริมาณมาก อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆขึ้นได้ ร่างกายมีกลไกการป้องกันเพื่อปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระด้วยการสร้างสารกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเรียกว่าแอนติออกซิแดนท์ โดยความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากแอนติออกซิแดนท์แต่ละชนิดรวมกันเราเรียกว่า แอนติออกซิแดนท์แคบพาซิตี โดยยิ่งถ้ามีค่ามากแสดงว่า ต่อต้านต่ออนุมูลอิสระได้ดี โดยทั่วไปแอนติออกซิแดนท์ที่สร้างขึ้นมักไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องได้รับแอนติออกซิแดนท์เพิ่มเติมจากธรรมชาติซึ่งสามารถพบได้ในพืชผักและผลไม้ โดยมีชนิดและปริมาณอยู่ในระดับที่ต่างกันเทคนิค โวลแทมเมตตรีเป็นเทคนิคที่สามารถใช้ในการใช้หาแอนติออกซิแดนท์แคบพาซิตี เพราะมีความถูกต้อง แม่นยำ สามารถบอกได้ทั้ง แอนติออกซิแดนท์แคบพาซิตี และแอนติออกซิแดนท์แอคทีวีตี ในตัวอย่างได้ด้วย อีกทั้งยังไม่ถูกรบกวนจากเรื่องสภาพและสีของสารละลายด้วย ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงสนใจที่จะวิเคราะห์แอนติออกซิแดนท์แคบพาซิตีในผลไม้ไทยบางชนิด เช่น ส้ม ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระคือ กรดแอสคอบิกด้วยเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมตตรี โดยใช้ 3 มม. กลาสซีคาร์บอนเป็นอิเล็กโทรดทำงาน แพลททินัมเป็นอิเล็กโทรดช่วย และซิลเวอร์/ซิลเวอร์คลอไรด์เป็นอิเล็กโทรดอ้างอิง พบว่ากรดแอสคอบิกสามารถแสดงคุณสมบัติการเป็นแอนติออกซิแดนท์ได้ดีในสภาวะ กรดทาร์ทาริกบัฟเฟอร์ pH 3.0 3.5 อัตราการเปลี่ยนศักย์ไฟฟ้าที่ 50 มิลลิโวลต์ต่อวินาที ช่วงการตรวจวัด 0 1100 มิลลิโวลต์ โดยโวลแทมโมแกรมที่ได้มีศักย์ไฟฟ้าสูงสุดที่ประมาณ 0.4 0.6 โวลต์ และมีกระแสสูงสุดมีค่าประมาณ 0.4 ไมโครแอมแปร์ (ความเข้มข้น 0.005 โมลต่อลิตร) นอกจากนั้นยังพบว่า กระแสสูงสุดแปรผันตรงกับความเข้มข้น มีช่วงความเป็นเส้นตรงที่ 0.002 0.100 โมลต่อลิตร และมีความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถวัดได้เท่ากับ 0.002 โมลต่อลิตร อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวอย่างจริงนั้นยังต้องมีการพัฒนาเทคนิคนี้ต่อไป