การศึกษาปัจจัยและการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย กรณีศึกษาในจังหวัดตาก
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชวรัช โรจนประเสริฐ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จูลิน ลิคะสิริ
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
ไม่มี
- ระดับการศึกษา
ไม่มี
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคท้องถิ่นที่สำคัญโรคหนึ่งของประเทศไทยโดยมียุงลายเป็นพาหะ แต่จำนวนยุงลายไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้โรคนี้แพร่กระจายไปได้ ยังปัจจัยอื่นเช่น จำนวนคน และสภาพอากาศก็มีส่วนช่วยทำให้โรคนี้แพร่กระจายได้ดีเช่นกัน ในการศึกษานี้จะศึกษาตัวแบบการแพร่เชื้อของโรคไข้เลือดออก และหาปัจจัยสำคัญอื่นที่สามารถนำมาออกแบบมาตรการควบคุมที่มีประสิทธิภาพได้ โดยใช้วิธีการสร้างแบบจำลองแบบมอนติคาร์โลในการเปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ที่ศึกษา ผลการศึกษาปรากฏว่า ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดคือ ลักษณะภูมิคุ้มกันเฉพาะของคน และอัตราการตายของยุง โดยควบคุมพาหะจะให้ผลดีกว่าการควบคุมแบบการให้วัคซีนเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้ยังไม่ได้คำนึงถึงลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์ต่างๆ ของเชื้อไวรัสและค่าใช้จ่ายในการควบคุมทั้งสองวิธี