การวิเคราะห์สภาพอากาศของพายุฤดูร้อนด้วยแบบจำลอง MM5

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วิทยา ต๊ะอย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • เจียมใจ เครือสุวรรณ

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จุดประสงค์ของการศึกษาในหัวข้อนี้คือ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดพายุฤดูร้อน รวมถึงสภาพอากาศขณะเกิดพายุ โดยใช้แบบจำลองสภาพอากาศ MM5 ในการประมวลผลข้อมูลและนำผลที่ได้มาแสดงด้วยโปรแกรมการแสดงผล GrADS โดยตัวแปรทางสภาพอากาศที่นำมาศึกษาและวิเคราะห์นั้นได้แก่ ทิศทางและความเร็วลมในแนวราบ อุณหภูมิ ความดัน การเคลื่อนที่ของอากาศในแนวดิ่ง ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำฝน ซึ่งบริเวณที่ศึกษาคือ พื้นที่จังหวัดเลย ละติจูดที่ 16.7 18.2 องศาเหนือ ลองจิจูดที่ 101.0 102.5 องศาตะวันออก จากผลการวิเคราะห์พบว่า สภาพอากาศที่ไร้เสถียรภาพจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดพายุฤดูร้อน อาทิเช่น อากาศมีการเคลื่อนที่ตามแนวดิ่งอย่างรุนแรง เนื่องจากการถ่ายเทความร้อนจากพื้นดิน อากาศมีลักษณะแบบร้อนชื้น การปะทะกันของอากาศตามแนวราบทำให้อากาศยกตัวขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นสาเหตุในการเกิดเมฆและฝนฟ้าคะนอง