โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเปลือกเงาะทำยางพาราแผ่นดำ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพืชท้องถิ่น มาทำน้ำกรดแทนน้ำกรดจากท้องตลาดในการทำยางพารา และเพื่อศึกษาวัสดุเหลือใช้ในการทำยางพาราให้มีแผ่นดำสวยงาม วัสดุที่ใช้ได้แก่ เปลือกสับปะรด ใบชะมวง ใบมะขาม เปลือกเงาะ เปลือกกล้วย เปลือกมังคุด และเปลือกกระท้อน วิธีดำเนินการทดลองคือ นำพืชท้องถิ่น คือ ใบชะมวง ใบมะขาม เปลือกสับปะรด มาต้มแล้วหมักจากนั้นทำการวัดค่า PH ทำการเตรียมยางพาราโดยนำวัสดุเหลือใช้ ได้แก่ เปลือกเงาะ เปลือกกล้วย เปลือกมังคุด และเปลือกกระท้อน มาผสมกับยางพารา รอจนแข็งแล้วนำไปรีดล้างให้สะอาดแล้วตากแดด ทำการเปรียบเทียบ ผลการทำลองพบว่า น้ำกรดจากพืชธรรมชาติที่เหมาะสมต่อการทำยางพารา เหมือนกับการใช้น้ำกรดตามท้องตลาดคือ น้ำกรดจากเปลือกสับปะรด ซึ่งมี PH =3 ส่วนวัสดุเหลือใช้ที่จะทำให้ยางพารามีความดำสวยงามมากที่สุด คือ เปลือกเงาะ รองลงมากคือเปลือกกล้วย ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นราวุธ พูลสวัสดิ์

  • พิศาล พงษ์ศรี

  • วิษณุ เจริญวัย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • บุหงา ศรีทันดร

  • วันเพ็ญ พูลหวัง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวัดป่าประดู่

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ทั่วไป ภาคตะวันออก

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ยางพารา

  • วัสดุท้องถิ่น

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์