โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถ่านกระดาษ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ผู้ทำโครงงาน ได้ทำโครงงานเรื่องถ่านกระดาษ เพื่อเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ โดยใช้กระดาษโรเนียวข้อสอบเก่า และได้คิดสูตรถ่านกระดาษผสมเศษวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่น คือ เปลือกเมล็ดยางพาราและเปลือกมันสำปะหลัง โดยมีการพัฒนางาน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ทำเชื้อเพลิงกระดาษขึ้นมา 3 สูตร สูตร 1 กระดาษโรเนียวข้อสอบ สูตร 2 กระดาษโรเนียวข้อสอบผสมเปลือกเมล็ดยางพารา อัตราส่วน 2:1 สูตร 3 กระดาษโรเนียวข้อสอบผสมเปลือกมันสำปะหลัง อัตราส่วน 2:1 ผลการทดลองพบว่าเชื้อเพลิงกระดาษสูตร 2 ให้ความร้อนได้ดีที่สุดเพราะทำให้อุณหภูมิน้ำเดือดคงที่เป็นเวลานาน ขั้นตอนที่ 2 นำเชื้อเพลิงกระดาษสูตรต่าง ๆ ไม้ฟืนยางพารา และไม้โกงกาง ทดสอบโดยการนำไปหุงข้าว ผลการทดลองพบว่า เชื้อเพลิงกระดาษสูตร 2 ใช้เวลาหุงข้าวได้เร็วและใช้เชื้อเพลิงปริมาณน้อย แต่เมื่อเทียบกับถ่านไม้โกงกาง ปริมาณเชื้อเพลิงกระดาษสูตร 2 ใช้มากกว่าเล็กน้อย จากการทดลองพบอุปสรรคเชื้อเพลิงกระดาษเมื่อเกิดการเผาไหม้จะมีควันมาก มีกลิ่นเขม่าในข้าวที่หุง จึงได้มีการปรับปรุง โดยใช้ขั้นตอนที่ 3 ด้วยการเผาถ่านแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน คือใช้วิธีเผาถ่านโดยการจุดเชื้อเพลิงกระดาษให้ลุกไหม้ แล้วกลบด้วยแกลบให้หนาพอประมาณทิ้งไว้ให้ขี้แกลบเผาไหม้ดำ แล้วโรยทับด้วยทรายหรือดินทิ้งไว้ 12-15 ชม. ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและปริมาณเชื้อเพลิงที่เผาก็จะได้ก้อนถ่านกระดาษสุกเป็นก้อนคาร์บอน (C) สีดำ น้ำหนักเบา นำมาตรวจสอบคุณสมบัติคล้ายกับถ่านโกงกาง ไม่มีเขม่าควัน ให้ความร้อนสม่ำเสมอ มีน้ำหนักเบา จากการทดลองพบว่า ถ่านกระดาษทั้ง 3 สูตร หุงข้าวได้สุก โดยใช้เวลาและปริมาณน้ำหนักที่น้อยกว่าถ่านไม้โกงกาง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชัยรัตน์ วิประกษิต
ภุมมา คุรุปัญญา
วิลัยพร ภักดีสุวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ทั่วไป ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(27) p74
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระดาษ
ถ่าน
มันสำปะหลัง
รีไซเคิล
เมล็ดยางพารา
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์