โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาพื้นที่ผิวกับอัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมีและการประยุกต์ใช้ก๊าซ CO2 ที่เกิดขึ้น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บุษราคัม บุญชิต
พีรยา หมุนทรัพย์
รุ่งรวิน ฤทธิ์เทพ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทย์กายภาพภาคเหนือตอนล่าง
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ก๊าซ CO2การประยุกต์
ปฎิกิริยาเคมีการศึกษา
พื้นที่ผิวการศึกษา
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เพื่อเปรียบเทียบและอธิบายผลของพื้นที่ผิวของสารตั้งต้นที่มีลักษณะต่างกันมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีและนำก๊าซ CO2 ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาไปประยุกต์ใช้ในการชะลอการสุกของกล้วย ในการทดลองนี้ได้ใช้เปลือกไข่ที่เตรียมไว้ขนาดอนุภาคต่าง ๆ 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และขนาดบดละเอียด ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก พบว่าเปลือกไขขนาดบดละเอียดจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วว่าสารที่มีอนุภาคขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เนื่องจากสารที่มีพื้นที่ผิวมาก จะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าสารที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อย เนื่องจากสารที่มีพื้นที่ผิวมากมีโอกาสในการชนกันของสารมากกว่าและจากปฏิกิริยาระหว่างเปลือกไข่กับกรดไฮโดรคลอริกจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทดสอบโดยการนำธูปไปจ่อแล้วไฟจะดับเพราะคุณสมบัติของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะไม่ได้ช่วยในการติดไฟของสาร และเมื่อผ่านก๊าซคาร์บอนไอออกไซด์ไปในน้ำปูนใส น้ำปูนใสจะขุ่น เนื่องจากเกิดแคลเซียมคาร์บอเนตขึ้น และเมื่อนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปประยุกต์ในการชะลอดการสุกของกล้วยพบว่าสามารถชะลอการสุกของกล้วยได้