โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของความเค็มต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ของ Skeletonema Costatum

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาเรื่อง ผลของความเค็มต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ของสเกลีโตนีมา คอสตาตัม (Skeletonema Costatum) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความเค็มที่เหมาะสมต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ของ สเกลีโตนีมา คอสตาตัม เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ในการผลิตสเกลีโตนีมา คอสตาตัม เพื่อใช้อนุบาลลูกสัตว์น้ำในวัยอ่อน การทดลองเพื่อหาระดับความเค็มที่เหมาะสมต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ของสเกลีโตนีมา คอสตาตัม ทำได้โดยเตรียมน้ำทะเลที่ระดับความเค็มต่าง ๆ 5 ระดับ คือ 15 20 25 30 และ 35 ส่วนในพันส่วน ใส่ขวดโหลขนาด 10 ลิตร เติมปุ๋ยสูตร Liao and Huang`S Modified TMRL Medium (1,000 X) ปริมาณ 10 มิลลิลิตรลงในขวดโหลทุกโหล ติดตั้งอุปกรณ์ให้ก๊าซออกซิเจน เติมหัวเชื้อที่มีจำนวนเซลล์เริ่มต้น 1,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ปริมาณ 10 มิลลิลิตร ลงในขวดโหลทุกใบพร้อม ๆ กัน ทำการทดลองซ้ำ 2 ชุด สังเกตและนับจำนวนเซลล์ของ สเกลีโตนีมา คอสตาตัม ทุก ๆ 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 6 วัน โดยการสุ่มตัวอย่างขึ้นมานับ จากผลการทดลองปรากฏว่าที่ระดับความเค็ม 25 ส่วนในพันส่วนสเกลีโตนีมา คอสตาตัม มีการเพิ่มจำนวนเซลล์มากที่สุด รองลงมาคือที่ระดับความเค็ม 20 30 35 และ 15 ส่วนในพันส่วนตามลำดับ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กนกวรรณ กาวิเศษ

  • จันทนา กาลพัฒน์

  • ปรารีชาติ บุญสุข

  • วรภา วราธนกุล

  • ศิริวรรณ ศิรินินทศักดิ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กรกนก ชูมณี

  • ธีรพงศ์ ไกรนรา

  • พรจันทร์ พวงแก้ว

  • อรอนงค์ วทัญญุตา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสตรีภูเก็ต

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 การเกษตร ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4(11) p78

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์