โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการผลิตหนังเทียมจากเยื่อกระดาษ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชญานิศ โลณะปาลวงศ์

  • ธีระศักดิ์ รักษาวงศ์

  • สมคะเน สิงหสุวรรณ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ทั่วไป ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(27) p82

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • กระดาษ

  • หนังเทียม การผลิต

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในการศึกษาเพื่อทำโครงงานวิทยาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิธีการที่จะนำสิ่งเหลือใช้ในชีวิตประจำวันในท้องถิ่น และทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อนำมาผลิตใช้งานหมุนเวียนต่อไป ในที่นี้ได้ศึกษาถึงวิธีการทำหนังเทียมเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตตัวหนังตะลุงแทนหนังแท้จากหนังสัตว์ที่กำลังขาดแคลน โดยใช้กระดาษที่เหลือใช้และน้ำยางพาราที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาผลิตหนังเทียม โดยการนำน้ำยางพารามาผสมกับเยื่อกระดาษและวัสดุอื่น ๆ เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตหนังเทียม ซึ่งมีวิธีทดลองดังนี้ นำน้ำยางพาราและเยื่อกระดาษ แป้งเปียก น้ำ มาผสมกันในอัตราส่วนที่ต่างกัน แล้วนำส่วนผสมที่ได้มาแผ่ลงบนต้นแบบ จากนั้นหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของหนังเทียมด้วยการทดสอบสมบัติบางประการ หลังจากการทดลองเปรียบเทียบอัตราส่วนที่เหมาะสมจากกระบวนการข้างต้นปรากฏว่า เยื่อกระดาษเป็นส่วนเสริมสร้างความแข็งแรง ส่วนน้ำยางพาราให้ด้านความเหนียวและการยืดหยุ่น แป้งเปียกทำให้คงรูป คงตัว เมื่อนำคุณสมบัติการทดลองทั้ง 3 อย่างแล้วมาผสมกันและเพิ่มน้ำ โดยหาอัตราส่วนที่เหมาะสมก็จะได้หนังเทียมที่เหมาะแก่การผลิตตัวหนังตะลุง คุณภาพของหนังเทียมที่ได้ใกล้เคียงกับหนังแท้ สามารถใช้งานได้อย่างเป็นที่น่าพอใจตรงตามวัตถุประสงค์