โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องลดต้นทุนในการเพาะเห็ดขอนขาวโดยใช้วัสดุท้องถิ่น

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาการเปรียบเทียบการเดินของเส้นใย และความหนาแน่นของเส้นใยเห็ดขอนขาวโดยใช้วัสดุที่ต่างกัน ทำการทดลองโดยแบ่งการทดลองออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มแรกคือขี้เลื่อยล้วน ๆ กลุ่มที่ 2 ขี้เลื่อยผสมรำ กลุ่มที่ 3 ขี้เลื่อยผสมรำ ดีเกลือและยิปซั่ม กลุ่มที่ 4 ขี้เลื่อยผสมดีเกลือและยิปซั่ม กลุ่มที่ 5 ขี้เลื่อยผสมปูนขาว กลุ่มที่ 6 ขี้เลื่อยผสมรำ ดีเกลือ ยิปซั่ม ปูนขาว และกลูโคส จากนั้นนำเอาวัสดุในแต่ละกลุ่มผสมให้เข้ากันในกลุ่มนั้น ๆ แล้วนำเอามาอัดถุงพับก้น ขนาด 7x11 นิ้ว โดยอัดให้มีความสูงและความหนาแน่นเท่ากัน แล้วนำเอามานึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่ง แบบเดี่ยว นาน 3 ชั่วโมง จำนวน 2 ครั้ง จากนั้นนำมาเขี่ยเชื้อเห็ดลงไปในถุง โดยวิธีปลอดเชื้อแล้วปิดปากถุงด้วยสำลีดำ สังเกตการเดินเส้นใยของเห็ดทุก ๆ 5 วัน ประมาณ 28-30 วัน เชื้อจะรัดตัว จากนั้นเปรียบเทียบการเดินของเส้นใยและการออกดอกของเห็ด ผลการทดลองช่วงที่ 1 การเจริญของเส้นใยและระยะทางที่เส้นใยเดินได้ กลุ่มที่ 6 เส้นใยสามารถเดินได้เร็วและมีความสมบูรณ์ที่สุด สังเกตได้จากเส้นใยเป็นสีเหลืองและความหนาแน่น รองลงมาคือ กลุ่มที่ 2 ส่วนกลุ่มที่ 3,4,5 และ 1 ก็จะให้ผลที่น้อยลงมาเรื่อย ๆ ส่วนผลการออกดอกกลุ่มที่ 6 ออกดอกได้สมบูรณ์และมีปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มที่ 2,1,3,5,4, ตามลำดับ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จามรี ตั้งสุวรรณสุข

  • ฐิติมา แสนทวีสุข

  • ปภากร พูลเลิศ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พัทธรา นาสารีย์

  • วัชรี ศิริศรีโร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนนารีนุกูล

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 การเกษตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4(10) p86

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • เพาะเห็ดขอนขาว ใช้วัสดุท้องถิ่นต่างกัน

  • เห็ดขอนขาว การเพาะเส้นใย

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์