โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการตรวจสอบหาสารฟอร์มาลีนที่ตกค้างในอาหารโดยใช้สารสกัดจากใบพืชในท้องถิ่น

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการตรวจสอบหาสารฟอร์มาลีนที่ตกค้างในอาหารโดยใช้สารสกัดจากใบพืชในท้องถิ่น (เช่น ในมะยม ใบมะนาว ใบมะขาม ใบมะปริง ใบมะม่วง ใบมะปราง ใบส้มแขก และใบสับปะรด) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชนิดของพืชที่มีผลต่อการตกตะกอนของฟอร์มาลีน เพื่อศึกษาฟอร์มาลีนที่ตกค้างในอาหารต่าง ๆ ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด จากการศึกษาพบว่า ใบมะยมเป็นพืชที่ใช้เวลาในการตกตะกอนได้เร็วดีที่สุด เฉลี่ย 2.67 นาที จากนั้นจึงน้ำสกัดจากใบมะยมไปทดสอบกับตัวอย่างอาหาร 15 ชนิด ได้แก่ ลูกชิ้นปลา ลูกชิ้นเนื้อ ไส้กรอก ไส้กรอกอีสาน ปูอัด ผักกาดดอง หน่อไม้ดอง กระเทียมดอง พริกแห้ง กุ้งแห้ง ปลาโอ ปลาทู ปลาแดง ปลาหมึก และกุ้งสด พบว่าปลาหมึกมีปริมาณการตกตะกอนของสารฟอร์มาลีนมากที่สุด โดยมีน้ำหนักตะกอนเฉลี่ย คือ 0.14 กรัม ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ใบมะยมมีความสามารถในการจับสารฟอร์มาลีนที่ตกค้างในอาหารให้ตกตะกอนมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามการทดลองในครั้งนี้จะสรุปไม่ได้อย่างชัดเจนถึง 100% ว่าน้ำสกัดจากใบมะยมมีความสามารถในการตรวจหาสารฟอร์มาลีนที่ตกค้างในอาหารอย่างแท้จริง อาจจะมีน้ำสกัดจากใบพืชชนิดอื่นที่มีความสามารถในการตรวจหาสารฟอร์มาลีนที่ตกค้างในอาหารได้ดีกว่าก็เป็นได้ เนื่องจากใช้น้ำสกัดในการทดลองเพียง 8 ชนิดเท่านั้น

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ซากีรีน ทัศญาณ

  • นูรูไวดา มูซอ

  • พาซีรา เจ๊ะยา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนรอมาเนีย (มูลนิธิ)

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลเชิดชูเกียรติภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ฟอร์มาลิน

  • ใบพืชสารสกัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์