โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องอาหารเสริมในท้องถิ่นกับการเพาะเห็ดฟางจากขี้เลื่อยเก่า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธารา คำพราว

  • สมชาย สุขสอาด

  • อาจหาญ คงมี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วิไล ฉ่ำจิตร

  • สุกัญญา นาคน้ำ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนป่าโมกข์วิทยาภูมิ

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออก

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(24) p72

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ขี้เลื่อย

  • เห็ดฟาง การเพาะ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ลำดับที่ คง ป016/2540 เนื่องจากฟางข้าวหายากมีราคาสูงและในการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่อง ทำให้ฟางข้าวที่ได้ย่อยป่นไม่สามารถนำมาใช้เพาะเห็ดฟางได้ ผู้ทำโครงงานจึงมีแนวคิดที่จะใช้ขี้เลื่อยเก่าผสมอาหารเสริมที่เป็นวัสดุเหลือใช้มาเพาะเห็นฟาง โดยได้ทดลองครั้งที่หนึ่งพบว่า การเพาะเห็ดฟางจากก้อนเชื้อเห็ดเก่าทิ้งแล้วชั้นเดียวที่ใช้ซังข้าวโพดตากแห้งเป็นอาหารเสริม จะได้ผลผลิตมากที่สุด รองลงมาคือขี้ไก่เก่าตากแห้ง ผักตบชวาตากแห้ง ใบก้ามปูแห้งและขี้ฝ้าย และจากการทดลองครั้งที่สองพบว่าการเพาะเห็ดฟางจากก้อนเชื้อเห็ดเก่าทิ้งแล้วสองชั้นที่ใช้ซังข้าวโพดตากแห้งเป็นอาหารเสริมจะได้ผลผลิตมากที่สุดคือ 1,133.3 กรัมในเวลา 10 วัน รองลงมาคือต้นกล้วยตากแห้ง มูลไก่ตากแห้ง ผักตบชวาตากแห้งและใบก้ามปูแห้ง การเพาะเห็ดฟางจากก้อนขี้เลื่อยเก่า (ก้อนเชื้อเห็ดเก่า) ในครั้งที่สอง จึงให้ผลผลิตได้มากที่สุด สามารถสร้างผลกำไรได้ดีและเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรได้