โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษารูปแบบปะการังเทียมที่มีผลต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้จัดทำเพื่อศึกษาลักษณะการวางและรูปแบบของปะการังเทียมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสลายพลังงานคลื่นก่อนเข้าสู่ชายฝั่ง โดยทำการออกแบบเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูและขั้นบันได ซึ่งถูกหล่อขึ้นโดยใช้คอนกรีตที่มีความแข็งแรงและทนต่อสภาวะในการใช้งานใต้ท้องทะเล เมื่อสร้างแบบจำลองปะการังเทียมตามที่ออกแบบไว้แล้วจากนั้นนำไปทำการทดลองในตู้ทะเลจำลองที่เตรียมไว้โดยในแต่ละการทดลองจะจัดวางปะการังเทียมที่แตกต่างกันคือหนึ่งแถว สองแถวและสามแถวในลักษณะตรง และสลับฟันปลา ทำการปล่อยคลื่นและบันทึกผล พบว่าค่าเฉลี่ยนแอมพลิจูดคลื่นที่เปลี่ยนไปในการจัดวางแบบสามแถวสลับฟันปลาให้ผลดีที่สุด ต่อมาทำการเปลี่ยนรูปแบบปะการังเทียมเพื่อเปรียบเทียบรูปแบบปะการังเทียมที่ดีที่สุด ทำการทดลองซ้ำและบันทึกผล พบว่าค่าเฉลี่ยของแอมพลิจูดคลื่นที่เปลี่ยนไปของปะการังเทียมรูปแบบสี่เหลี่ยมคางหมูมีประสิทธิภาพดีที่สุด เฉลี่ยร้อยละ 88.03 จากการศึกษาสรุปได้ว่า ลักษณะการวางและรูปแบบปะการังเทียมที่มีประสิทธิภาพในการสลายพลังงานคลื่นดีที่สุดคือ การวางปะการังเทียมรูปสี่เหลี่ยมคางหมูสามแถวสลับฟันปลา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จีรภัทร พิริยคุณธร

  • ปิยวลี พีรสุขประเสริฐ

  • พิชามญชุ์ แซ่โค้ว

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลเชิดชูเกียรติภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ชายฝั่งการกัดเซาะ

  • ปะการังเทียม

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์