โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ประโยชน์จากผึเสื้อยักษ์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ผีเสื้อยักษ์ Attacus atlus L. เป็นผีเสื้อขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม รังมีลักษณะเป็นเส้นใยมีขนาดใหญ่ ในการทดลองแบ่งเป็นสองตอน คือ ตอนที่ 1 หาสารที่สามารถสาวเส้นใยของรังไหมผีเสื้อยักษ์ได้ โดยการนำสารมาทดลอง 5 ชนิดคือ น้ำมะนาว น้ำสับปะรด ยางมะละกอ และด่างฟอกไหมขาว ซึ่งมีวิธีการทดลองคือวัดอัตราส่วนของสาร 100 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรและวัดค่า pH ของสาร 5 ชนิดได้คือ 7.0, 3.2, 5.4, 6.8 และ 10.7 ตามลำดับ แล้วนำไปต้มเป็นเวลา 60 นาทีผลปรากฎว่า สารที่สามารถทำให้สาวเส้นใยออกมาได้คือด่างฟอกไหมขาว เส้นใยเริ่มเปื่อยและสาวได้เมื่อเวลาผ่านไป 5 นาที ส่วนน้ำมะนาว น้ำสับปะรด ยางมะละกอ และน้ำ จะไม่มีผลต่อการสาวเส้นใยออกมาได้ ตอนที่สองคือหาความเข้มข้นของสารด่างฟอกไหมขาวที่เหมาะสมในการสาวไหมของผีเสื้อยักษ์โดยมีวิธีการทดลองคือ ใช้น้ำ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อสาร 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 กรัม ตามลำดับโดยต้มจนน้ำเดือดแล้วใส่ฝักไหมลงไป ผลปรากฏว่าใช้สาร 5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรดีที่สุด เพราะเส้นใยที่ออกดี สม่ำเสมอ และใช้เวลาไม่มากนัก ส่วน 2, 3, 4 กรัม จะใช้เวลานาน เส้นใยที่ออกมามักจะขาด ยกเว้น 0, 1 กรัม จะไม่สามารถสาวเส้นใยออกมาได้ส่วน 6, 7, 8, 9,10 กรัม เส้นใยจะออกได้ดีและใช้เวลาไม่นานนัก เมื่อเทียบกับ 5 กรัม กับ 6 กรัมแล้ว 5 กรัม จะประหยัดสารด่างฟอกไหมขาวมากกว่า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วาริกา คำนวน

  • สันทนา วันสุทธะ

  • สำรอง โพธิสาร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 วิทยาศาสตร์เกษตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2538 6 (17) p76

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์