โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องคุณภาพชีวิตสัตว์ป่า ศึกษากรณีรังนกปากห่าง

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ได้ศึกษาคุณภาพชีวิตสัตว์ป่า ศึกษากรณีรังนกปากห่าง ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า วัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม จากข้อสังเกตเปรียบเทียบที่นกเดินทางมาถึงใหม่ๆ มีเวลาพักน้อยก็ต้องผสมพันธุ์วางไข่ การทำรังของนกจะขาดความแน่นหนาทำให้ไข่นก ลูกนก ตกลงมาตายเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นที่อยู่อาศัยจึงมีความสำคัญมาก คณะผู้ดำเนินงานได้สุ่มตัวอย่างศึกษารังนกได้ 10 ตัวอย่าง นำมาวัดความยาวของกิ่งไม้ความกว้างของเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 5 ช่วง พบว่ากิ่งไม้ที่มีขนาดยาวน้อยกว่า 30 เซนติเมตร และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 0.4 เซนติเมตร เป็นขนาดที่นกปากห่างเลือกมาทำรังมากที่สุด การทดลองเพื่อชี้วัดคุณภาพชีวิตนกปากห่างทำโดยเชิญชวนให้เพื่อเยาวชนได้ มีส่วนร่วมนำกิ่งไม้มาด้วย 5 โรงเรียน ได้กิ่งไม้ 17,600 กิ่ง แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 8,800 กิ่ง ทดลองในบล็อคขนาด 7 คูณ 7 เมตร บริเวณ A และ B ระยะเวลาวางทดลอง 4 เดือนเพื่อให้นกนำไปทำรัง จึงตรวจนับกิ่งไม้ปรากฏว่า นกนำกิ่งไม้ไปทำรังรวม 15,600 กิ่ง คิดเป็นร้อยละ 88.64 แสดงถึงสถานภาพนกปัจจุบันอยู่ในขั้นวิกฤติ นกจะลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัดหรืออาจจะไม่อยู่ที่วัดไผ่ล้อมอีกในปีต่อๆ ไป

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วรรณี ทองเล็ก

  • อนุชิต ลางคุณเสน

  • โอ มุขศรี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จรัญ ดีงาม

  • ต่อศักดิ์ สุนทราภรณ์

  • ธีราวุธ น้อยนะวะกุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสามโคก

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ภาคกลาง

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4 (9) p77

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • นกปากห่าง ศึกษารังนก

  • สัตว์ป่า คุณภาพชีวิต

  • โครงงานวิทยาศาสตร์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์