โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการขจัดดินโคลนในหอยแครงด้วยน้ำผักในท้องถิ่น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธิดาทิพย์ อุไรกุล
นิภาวรรณ พรายดัสถ์
รัชฎาภรณ์ ไหมวัด
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
น้ำผัก
หอยแครง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เป็นการทดลองเพื่อหาปริมาณดินโคลนในหอยแครงที่ซื้อมารับประทาน เนื่องจากหอยแครงจะอาศัยอยู่ในทะเลที่มีป่าชายเลน หอยจะมุดตัวอยู่ใต้พื้นดินลงไปเล็กน้อย เมื่อนำหอยแครงมาบริโภค โดยการย่าง ลวก หรือยำ มักจะพบดินโคลนติดอยู่ในตัวหอยทำให้ตัวหอยแครงไม่สะอาด จึงได้คิดทดลองการขจัดดินโคลนที่ได้จากการแช่หอยแครงด้วยน้ำผักที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพื่อการประหยัด และการใช้เศรษฐกิจอย่างพอเพียง ได้บริโภคหอยแครงที่สะอาด ลดปริมาณสารพิษที่ตกค้างติดมากับตัวหอยแครง ได้คุณค่าอาหารสูง และไม่เกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง เป็นต้น