โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระพังโหมพืชสารพัดประโยชน์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชุติมา พึ่งเฑียร
วรรณวิสา นากสุข
อัญชลี ชูสกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กมล ชูสมัย
ยุพาภรณ์ เพ็ญสุภา
รื่นรมย์ ผิวพรรณ
สุกัญญา ซึงวิไลสินธุ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคเหนือตอนล่าง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาการใช้ต้นกระพังโหมเป็นวัสดุในการทำเครื่องจักสานแทนไม้ไผ่และหวาย จากการทดลองพบว่าต้นกระพังโหมที่นำมาใช้ควรมีอายุประมาณ 30-40 วัน โดยตัดต้นสดมาผึ่งแดดและนำใบออกทั้งหมด เมื่อตรวจสอบความเหนียวโดยวิธีถ่วงน้ำหนัก พบว่าต้นกระพังโหมสามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 1.5 กิโลกรัม และเมื่อนำต้นกระพังโหมแห้งมาแช่ด้วยน้ำเดือดที่อุณหภูมิ 80-100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที แล้วตากแดดให้แห้ง พบว่าสามารถนำมาสานเป็นงานฝีมือที่มีความละเอียดสีสันสวยงาม โดยชิ้นงานสามารถคงรูปร่างได้ ไม่พบการกัดแทะของแมลง และเมื่อทาแล็กเกอร์แล้วจะทำให้ชิ้นงานสวยงามและคงทนขึ้น