โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการบำบัดน้ำทิ้งจากนากุ้งโดยวิธีทางเคมีชีวภาพ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศจีรัตน์ เสริมไชยพัฒน์ และคณะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2538 6(16) p67
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
น้ำทิ้งจากนากุ้งนั้นเป็นน้ำที่มีคุณภาพเปลี่ยนไปจากเดิม หากไม่ได้รับการบำบัดที่ดีก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก ดังนั้นการคิดหาวิธีในการปรับปรุงบำบัดคุณภาพของน้ำ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งทางคณะผู้จัดทำได้แบ่งขั้นตอนในการปฏิบัติงาน เป็นขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 จะเป็นขั้นที่นำตัวอย่างน้ำก่อนสูบเข้านากุ้ง และน้ำที่กำลังจะปล่อยออกจากนากุ้ง เข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ มาทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ทั้งทางกายภาพ และทางเคมี เช่น ความขุ่นใสของน้ำ, สารแขวนลอยในน้ำ, ความเค็ม, ค่า pH, ปริมาณ D.O. เป็นต้น แต่สำหรับค่าบางค่า เช่น ค่า B.O.D ทางคณะผู้จัดทำไม่สามารถทดสอบได้ เนื่องจากต้องใช้เวลา และความชำนาญ ตลอดจนข้อจำกัดของเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่ เมื่อได้ค่าคุณสมบัติด้านต่าง ๆ ของน้ำทั้ง 2 ชนิด นี้แล้ว นำมาศึกษาเปรียบเทียบกันก็พบว่า น้ำทิ้งที่กำลังจะปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ มีคุณสมบัติบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ ในการเลี้ยงกุ้ง เช่น การให้สารอาหาร เป็นต้น ขั้นที่ 2 เมื่อได้ข้อมูลจากการปฏิบัติงานในขั้นที่ 1 มาแล้ว ทางคณะจึงช่วยกันหาวิธีในการบำบัดน้ำทิ้ง ให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับน้ำก่อนสูบเข้านากุ้ง ให้มากที่สุด โดยจะมีการบำบัดด้วยทางกายภาพ และทางเคมีอย่างง่ายเช่น วิธีทางเคมี ทำได้โดยการเติมปูนขาว เติมขี้เถ้า เติมผงถ่าน การแกว่งสารส้ม การเติมคลอรีน เพื่อปรับค่า pH เพิ่มการตกตะกอน การปรับสีและกลิ่นของน้ำ เป็นต้น วิธีการทางฟิสิกส์หรือทางกายภาพ มีการกรองอย่างหยาบ การให้ออกซิเจนแก่น้ำโดยใช้ระหัดวิดน้ำ ให้น้ำมีการเคลื่อนที่ และสัมผัสกับอากาศมากขึ้น วิธีการทางชีวภาพ ซึ่งทางกลุ่มได้เลือกใช้สาหร่ายผมนาง ช่วยในการบำบัดน้ำ ก็มีส่วนช่วยให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น โดยสาหร่ายพวกนี้จะดูดใช้สารอาหารตกค้างจากการเลี้ยงกุ้ง เช่น สารพวกไนเตรท แอมโมเนีย และสารอื่น ๆ เป็นต้น หลังจากดำเนินขั้นตอนการบำบัดน้ำแล้ว นำน้ำที่ผ่านการบำบัดมาทดสอบคุณภาพอีกครั้ง ปรากฏว่า ผลจากการบำบัดน้ำด้วยวิธีต่าง ๆ ผสมผสานกันนั้น ทำให้น้ำมีคุณภาพใกล้เคียงกับน้ำก่อนสูบเข้ามาใช้ มากขึ้น และผลพลอยได้จากการช่วยกันอนุรักษ์ และบำบัดน้ำทิ้งนี้แล้ว ผลผลิตจากการเลี้ยงสาหร่ายยังช่วยสร้างอาชีพเสริม และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรนากุ้งอีกทางหนึ่งด้วย