การวิเคราะห์สารกำจัดศัตรูพืชในใบชาเขียวโดยใช้เทคนิค Exact double IDMS ผลจากการเปรียบเทียบผลการวัด CCQM-K95CCQM-P136
- ผู้เขียน
กิตติยา เชียร์แมน
- เอกสารที่มา
สมท. สาร ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2555) หน้า 6-16
- หัวข้อ:
ชาเขียว--การวิเคราะห์--ยาฆ่าแมลง, ยาฆ่าแมลง--การวิเคราะห์
บทคัดย่อ
การดื่มชาเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ดั้งเดิมของชาวเอเชียโดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่น มีงานวิจัยพบว่าในชาเขียวจะมีสาร Catechin Polyphenol โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Eqigallocatechin Gallate (EGCG) เป็นสารต้านพิษและช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งด้วย การฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนดี ช่วยลดระดับ LDL คอเรสเตอรอล อย่างไรก็ตาม หากดื่มชาที่มีสารกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนเป็นประจำทุกวัน อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ คณะกรรมการมาตรวิทยาโลก โดยกลุ่มมาตรวิทยาการทางด้านเคมี CCQM ได้เล็งเป็นความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหารต่อผู้บริโภคและความสำคัญของความถูกต้องของผลการวัด จึงได้จัดเปรียบเทียบผลการวัดสารกำจักศัตรูพืชในกลุ่มออร์โนคลอรีนหรือเรียกอีกอย่างว่า คลอริเนเตตไฮโดรคาร์บอน โดยเลือกที่จะศึกษา Endosulfan (II) Endosulfan sulphate พบว่าสารกลุ่มนี้เข้าไปสะสมอยู่ในพืชผักผลไม้ได้ หากเพาะปลูกในดินที่มีสารชนิดนี้สะสมอยู่ ซึ่งสถาบันมาตรวิทยาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับสถาบันมาตรวิทยาแห่งเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เป็นเจ้าภาพในการเปรียบเทียบผลการวัด CCQM-K95/CCQM-P136 และกำหนดให้แต่ละห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโครงการวิเคราะห์ปริมาณสาร Endosulgan (II) และ Endosulfan sulfate ในใบชาเขียวบดแห้ง โดยมีการระบุความเข้มข้นว่าทั้งสองสารนี้อยู่ในวง 100-1000 g/kg สถาบันมาตรวิทยา (มว.) ได้เข้าร่วมเปรียบเทียบผลการวัดในครั้งนี้และนำเทคนิค Exact-matching double IDMS มาใช้ในการวิเคราะห์หาสารกำจัดศัตรูพืช โดยสามารถวัดหาปริมาณ Endosulfan sulfate ในใบชาเขียวได้เป็นอย่างดี อีทั้งค่าความไม่แน่นอนในการวัดมีขนาดเล็ก สมเหตุสมผล ดังนั้นการเข้าร่วมเปรียบเทียบการวัดครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญของแต่ละห้องปฏิบัติการในการประเมินความเท่าเทียมกันของผลการวัดทางมาตรวิทยา จากการใช้วิธีการวัดของตนเองและยังเป็นแนวทางในการปรับปรุงการวัดให้มีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้นต่อไป