การวิเคราะห์รูปแบบทางเคมีของสารหนูในตัวอย่างอาหาร

ผู้เขียน

สุทธินันท์ แต่บรรพกุล

เอกสารที่มา

สมท. สาร ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2555) หน้า 17-23

หัวข้อ:

สารหนู--การวิเคราะห์, อาหาร--การวิเคราะห์--สารหนู

บทคัดย่อ

ความเป็นพิษของสารหนูขึ้นอยู่กับสถานะทางออกซิเดชันและรูปฟอร์มทางเคมี เช่น สารหนูอนินทรีย์มีความเป็นพิษมากที่สุด ในขณะที่สารหนูอนินทรีย์มีระดับความเป็นพิษในช่วงกว้าง โดยลำดับความเป็นพิษจากมากไปน้อย มนุษย์มีโอกาสได้รับสารหนูอนินทรีย์โดยผ่านอากาศ น้ำและอาหาร ทั้งจากการบริโภคและการหายใจ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งใน ปอด ผิวหนัง กระเพาะปัสสาวะ ตับ ไตและกระเพาะอาหาร อาหารที่บริโภคในชีวิตประวันจัดเป็นแหล่งที่สำคัญของสารหนูที่จะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ เช่น เนื้อ ปลา สัตว์ปีก ส่วนอาหารทะเล มีรูปฟอร์มของสารหนู อินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย ในการศึกษาทาง speciation analysis โดยใช้ HPLC-Mass spectrometry เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการวิเคราะห์ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ จะต้องประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) Quantitative extraction 2) Effective separation 3) Selective detection ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับ mass balance และการรักษาสภาพของรูปฟอร์มธาตุอย่างดั้งเดิมเป็นสิ่งสำคัญ จากความสำคัญของ speciation analysis ซึ่งเป็นศาสตร์ใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นนี้ ทำให้ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ในประเทศมีความจำเป็นจะต้องเตรียมบุคลากรในการพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ทางด้านนี้เพื่อรักษาศักยภาพของการแข่งขันในตลาดโลกและรองรับข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าอาหารและเกษตรที่จะมีขึ้นในอีกไม่ช้า