๒.๒ คำอธิบาย

ผู้เขียนแบ่งการเสนอนำเป็น ๒ ส่วน โดยในส่วนแรกจะกล่าวถึง Institutional aspect ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และบทบาทของภาครัฐ ในส่วนที่สองมุ่งเสนอแนวคิดการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม

Institutional aspect ของ SMEs แบ่งเป็น

  • Subcontracting industries หรือ Intermediate goods industry

  • อุตสาหกรรมที่สำเร็จในตัวเอง (Final products)

  • อุตสาหกรรมหัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งถือเป็นภาพหลักของ SMEs ที่ผ่านมา SMEs มีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในหลายด้าน ทั้งในส่วนการสร้างมูลค่าในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross domestic product-GDP) การสร้างงานและการรองรับอุปทานในตลาดแรงงาน การสร้างเงินตราต่างประเทศจากการส่งออก บทบาทที่เชื่อมโยงการผลิต และประสบการณ์ต่อธุรกิจ การส่งเสริมการใช้เงินออมเพื่อการผลิต

ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจพอเพียง

  • "โตเร็วแต่ไร้ความยั่งยืน" เป็นบทเรียนทางธุรกิจและการดำเนินการที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เมื่อ ๒-๓ ปีที่ผ่านมา

  • การพัฒนา SMEs ควรมุ่งเน้นให้เกิดการดำเนินการที่มั่นคงในระยะยาวมากกว่าการกอบโกยผลประโยชน์ในระยะสั้น

  • การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงให้ยึดทางสายกลาง ความพอประมาณ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาทและมีเหตุผล โดยไม่ใช้จ่ายหรือลงทุนเกินตัวจนขาดประสิทธิภาพ แต่ควรมุ่งเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจ เน้นให้ภาครัฐ อดทน ซื่อสัตย์ มีสติปัญญาและรอบคอบในการปฏิบัติงาน

ผู้เขียนเห็นว่าธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นและใช้เทคโนโลยีง่าย ๆ ในท้องถิ่น น่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้