ผลิตภัณฑ์แผ่นทดสอบการเน่าเสียของอาหารจากอินดิเคเตอร์ธรรมชาติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นันทพงศ์ แจ้งสว่าง, อาเธอร์ ผลวุฒิ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เบญญพร พัฒน์เจริญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ผลิตภัณฑ์แผ่นทดสอบการเน่าเสียของอาหารจากอินดิเคเตอร์ธรรมชาติจัดทำขึ้นเพื่อต้องการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของอินดิเคเตอร์จาก อัญชัน กระเจี๊ยบแดง เข็มแดง กะหล่ำปลีม่วงและขมิ้น อีกทั้งยังศึกษาและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของอินดิเคเตอร์ทั้ง 5 ชนิดเพื่อบ่งบอกสภาวะการเน่าเสียของอาหารในสภาวะที่เกิดจากการเสื่อมเสียของอาหารเนื่องจากจุลินทรีย์ (Microbial spoilage) รวมทั้งได้ทำการสร้างผลิตภัณฑ์แผ่นทดสอบที่สามารถบ่งบอกสภาวะความเป็นกรด-เบสของอาหารได้
โดยได้นำอัญชัน กระเจี๊ยบแดง เข็มแดง กะหล่ำปลีม่วงและขมิ้น มาอบแห้งในอุณหภูมิที่ 60 °C ด้วยเทคนิค Dehydration จากนั้นนำเอาไปผสมกับนำกลั่นที่ผ่านความร้อนในอุณหภูมิ 100 °C ด้วยส่วนผสม วัสดุธรรมชาติที่เป็นอินดิเคเตอร์+น้ำกลั่น ในอัตราส่วน 1:100 (g/ml) ต่อมานำกระดาษกรองไปแช่ในสารสกัดจากอินดิเคเตอร์ที่สามารถสกัดได้ โดยจากนั้นทำการทดสอบด้วยการติดผลิตภัณฑ์แผ่นทดสอบไว้ที่ข้างกล่อง พบว่า จากการทดลอง โดยทดสอบและบันทึกผลในทุกๆ 24,48,72 ชั่วโมงโดยแผ่นทดสอบจากอัญชันมีการเปลี่ยนค่า pH จาก 11 (เบสจัดมาก) จนถึง 5 (กรดจัด) ต่อมาแผ่นทดสอบจากกระเจี๊ยบแดงมีการเปลี่ยนค่า pH จาก 2 (กรดแก่จัด) จนถึง 4 (กรดแก่จัด) แผ่นทดสอบจากเข็มแดงมีการเปลี่ยนค่า pH จาก 4 (กรดแก่จัด) จนถึง 3 (กรดแก่จัด) ลำดับถัดมาแผ่นทดสอบจากกะหล่ำปลีม่วงมีการเปลี่ยนค่า pH จาก 12 (เบสจัดมาก) จนถึง 6 (กรดอ่อน) สุดท้ายแผ่นทดสอบจากขมิ้นมีการเปลี่ยนค่า pH จาก 5 (กรดแก่) จนถึง 2 (กรดแก่จัด) จึงสรุปได้แผ่นทดสอบจากอัญชันสามารถเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด โดยเปลี่ยนจากค่า pH ที่ 11 จนถึง 5 โดยสามารถเรียงลำดับประสิทธิภาพของแผ่นทดสอบได้จาก อัญชัน>กะหล่ำปลีม่วง>ขมิ้น>กระเจี๊ยบแดง>เข็มแดง ตามลำดับ โดยจากการศึกษาและทดสอบมีส่วนช่วยในการใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย