การสกัดสารแทนนินจากเปลือกมังคุดเพื่อยับยั้งแบคทีเรียและยืดอายุการเก็บรักษาของปลาหมึกสด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชลธิชา โพธิ์ขาว, เชิดชัย สังขจันทร์, ณัฐธิชา เกตหนองโพธิ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ถวิล วรรณวงศ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

มังคุด (Garcinia mangostana Linn) เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 15-25 ซม. เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แล้วค่อยแพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตก มังคุดเป็นผลไม้จากเอเชียที่ได้รับความนิยมมาก มังคุดได้รับขนานนามว่าเป็น “ราชินีของผลไม้” อาจเป็นเพราะด้วยลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินี ส่วนเนื้อในก็มีสีขาวสะอาด มีรสชาติที่แสนหวาน ในขณะที่ส่วนใหญ่นิยมจะนิยมรับประทานมังคุดสุกเป็นผลไม้ ซึ่งมีประโยชน์ในการต้านสารอนุมูลิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย มีส่วนช่วยชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย และยังมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอีกด้วย เนื้อมังคุดมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะโพแทสเซียม โปรตีน วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียมและแมกนีเซียม เปลือกของมังคุดมีสารให้รสฝาด คือ แทนนิน แซนโทน ยางมังคุดมีประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมหลายประเภท นอกจากนั้นยางมังคุดยังมามีบทบาทในการใช้เป็นสารเจือปนในอาหาร เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Staphylococvus Aureus ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้

สารแทนนินเป็นประกอบโพลีฟีนิลชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในพืชหลายชนิดมีโมเลกุลใหญ่ และโครงสร้างซับซ้อน มีสถานะเป็นกรดอ่อนและมีรสฝาด ดังนั้นสารแทนนินจึงพบมากในพืชที่มีรสฝาด เช่น ใบฝรั่ง เปลือกมังคุด ใบชา ใบพลู ใบชุมเห็ดเทศ เปลือกเมล็ดมะขาม กล้วยดิบ ฯลฯ สารแทนนินสามารถสกัดออกมาใช้ประโยชน์ได้ง่ายโดยสามารถละลายได้ในตัวทำละลายชนิดทั้งน้ำกลั่น เอทานอล และอะซิโตน ทั้งสาร แทนนิน ยังเป็นสารสารพัดประโยชน์สามารถใช้บรรเทาอาการท้องร่วง โรคบิด ห้ามเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด บรรเทาอาการพุพองของแผล ต้านอนุมูลอิสระ แต่สารแทนนินก็ยังมีโรคต่อร่างกาย ถ้ารับประทานในปริมาณที่มากเกินไป นอกจากนี้สารแทนนินยังมีความสามารถในการทําลายของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราต่าง ๆได้ ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำโครงงานจึงคิดที่จะนําสารสกัดจากเปลือกผลมังคุดที่มีสารแทนนินสูงมายับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพที่เกิดขึ้นบนอาหารแล้ว ทำให้อาหารเน่าเสียเพื่อเป็นการยืดอายุอาหารที่เสียง่าย โดยเฉพาะอาหารจำพวกอาหารทะเลที่มีระยะทางในการขนส่งเป็นเวลานาน ผู้ค้ารายย่อยบางกลุ่มจึงใช้วิธียืดอาหารอย่างผิด ๆ โดยใช้สารฟอร์มาลีนที่เป็นโทษต่อร่างกายในการเก็บรักษาอาหารทะเล ซึ่งถ้าเปลี่ยนมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติในการเก็บรักษา จึงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในด้านสุขภาพอนามัย และประโยชน์ต่อผู้ผลิตในด้านระยะเวลาในการจําหน่ายหรือส่งออกสินค้าอีกด้วย และทางผู้จัดทำโครงงานยังได้ศึกษาปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดของโปรตีนไฮโดรไลเสทจากสารแทนนินและสารฟอร์มาลีน เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพโปรตีนไฮโดรไลเสทจากอาหารทะเล