ตัวยับยั้งชนิดต่าง ๆ ต่อเอนไซม์ไดไฮโดรโฟลเลทรีดักเทส (DHFR) ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium vivax

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธัญญพร วงศ์เนตร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • อุบลศรี เลิศสกุลพานิช

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนนครสวรรค์

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาเคมี

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลการยับยั้งของสารประกอบ กลุ่ม pyrimethamine จำนวน 3 อนุพันธุ์ ต่อการทำงานของเอนไซม์ ไดไฮโดรโฟลเลทรีดักเทส (DHFR) จาก Plasmodium vivax ชนิดสายพันธุ์เดิม และ สายพันธุ์กลาย S58R+S117N (serine ตำแหน่งที่ 58 เปลี่ยนเป็น arginine และ serine ตำแหน่งที่ 117 เปลี่ยนเป็น asparigine) สารประกอบ 3 อนุพันธุ์ได้แก่ pyr1 , pyr20 และ pyr 30 มีลักษณะต่างกันที่หมู่คลอโรโดย pyr1 มีหมู่คลอโรที่ตำแหน่ง para , pyr20 ไม่มีหมู่คลอโร ในขณะที่ pyr30 มีหมู่คลอโรที่ตำแหน่ง meta ปรากฏผลว่าค่าคงที่ของการยับยั้ง (Ki) ของสารประกอบ 3 อนุพันธุ์ ต่อเอนไซม์สายพันธุ์เดิมดังนี้ ค่า Ki ของ pyr1 = !['0.554](/latexrender/pictures/128/12809389ad7e166affee35a93ae68b1f.gif) , ค่า Ki ของ pyr20 = !['1.149](/latexrender/pictures/128/080/0800cb8bfa86d0fdd845b5c77aa51ec7.gif) , ค่า Ki ของ pyr30 = !['0.726](/latexrender/pictures/128/080/300/3000904ac565aee7c8192e4c68b1ff73.gif) เพราะฉะนั้นสารประกอบที่สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์สายพันธุ์เดิมได้ คือ pyr1>pyr30>pyr20 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสารประกอบที่สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์สายพันธุ์เดิมได้ดีที่สุด คือ สารประกอบที่มีหมู่คลอโรอยู่ในตำแหน่ง para ในขณะที่ค่าคงที่ของการยับยั้ง (Ki) ของสารประกอบ 3 อนุพันธุ์ ต่อเอนไซม์สายพันธุ์กลายเป็น ดังนี้ ค่า Ki ของ pyr1 = !['64.516](/latexrender/pictures/128/080/300/458/4586a6e25fcf44129362d4a0a6b6a957.gif) , ค่า Ki ของ pyr20 = !['18.546](/latexrender/pictures/128/080/300/458/108/1084f0ab1d8e95a9b195ba5ad0ce906e.gif) ,ค่า Ki ของ pyr30 = !['28.327](/latexrender/pictures/128/080/300/458/108/433/4335754010d4af7173f23143c30e4f16.gif) ซึ่งสารประกอบที่สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์สายพันธุ์กลายได้ คือ pyr20>pyr30>pyr1 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า สารประกอบที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์สายพันธุ์กลายได้ดีที่สุด คือ สารประกอบที่ไม่มีหมู่คลอโร จากผลการทดลองทำให้เราทราบว่าสารประกอบกลุ่มที่ใช้ได้ดีกับเอนไซม์สายพันธุ์เดิม จะใช้ได้ดีกับสายพันธุ์กลาย เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งของหมู่คลอโร จากการที่มีหมู่คลอโรอยู่ในตำแหน่ง para เปลี่ยนเป็นไม่มีหมู่คลอโรเลย เพราะฉะนั้นหมู่คลอโรที่ตำแหน่ง para จึงเป็นตำแหน่งที่สำคัญในสารประกอบที่ให้ผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์สายพันธุ์เดิม และในสายพันธุ์กลายไม่จำเป็นต้องมีหมู่คลอโรในสารประกอบที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ สรุปได้ว่าการกลายพันธุ์ของกรดอะมิโนที่ตำแหน่ง S58R+S117N (serine ตำแหน่งที่ 58 เปลี่ยนเป็น arginine และ serine ตำแหน่งที่ 117 เปลี่ยนเป็น asparigine) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสารประกอบ