การศึกษาองค์ประกอบเคมีและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของรากมะปรางและเถาตดหมา

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นิลเนร สุอังคะ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พุฒินันท์ มีเผ่าพันธ์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาเคมี

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

มะปราง (Bouea Macrophylla) และเถาตดหมา (Merremia Tridentata) เป็นพืชที่พบได้ในประเทศไทย จากการค้นคว้าพบว่ามีสรรพคุณในการรักษาโรคไข้ป่า หรือมาลาเรีย ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ในเขตร้อนชื้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาหาองค์ประกอบทางเคมีและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของรากมะปรางและ เถาตดหมา โดยนำรากมะปรางและเถาตดหมามาอบให้แห้งด้วยอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ทำการสกัดด้วยตัวทำละลาย ไดคลอโรมีเทน และเมทานอล ตามลำดับ นำสารสกัดหยาบชั้นไดคลอโรมีเทนมาแยกด้วยเทคนิคโครมาโทรกราฟี โดยใช้ Sephadex LH20 column และใช้เมทานอลเป็นตัวชะพาสารให้เคลื่อนที่ และใช้ thin layer chromatography ในการรวบรวมส่วนสกัดที่มีสารคล้ายคลึงกัน ได้ส่วนสกัดชั้นไดคลอโรมีเทนของรากมะปรางจำนวน 19 ส่วน และส่วนสกัดชั้นไดคลอโรมีเทนของเถาตดหมาจำนวน 16 ส่วน แต่จากการทดสอบเพื่อหาองค์ประกอบทางเคมีในส่วนสกัดที่ได้ พบว่าส่วนสกัดของรากมะปรางไม่มีสารในกลุ่มที่น่าสนใจทำการศึกษา จึงไม่ได้ทำการศึกษาต่อ