ศึกษาอายุขัยเม็ดเลือดแดง เศษเซลล์ชองเม็ดเลือดแดงที่แตกตัว (Vesicles) และเกร็ดเลือดของหนูปกติและหนูธาลัสซีเมีย

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จิรกิติ วงศ์เนตร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • โกวิท พัฒนาปัญญาสัตย์

  • แพทย์ สุทัศ ฟู่เจริญ

  • บัณฑิต วรรณศุภผล

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โรคธาลัสซีเมีย (Thalasemia disease) เป็นโรคพันธุกรรมที่พบมากที่สุดในประเทศไทยและพบได้ทั่วโลก ในประเทศไทยมีคนเป็นโรคธาลัสซีเมียมากถึงร้อยละ 1 ของประชากร หรือประมาณ 6 แสนคน และพบผู้ที่มียีนแฝง (พาหะ) ประมาณร้อยละ 40 ของประชากรและโรคธาลัสซีเมีย มัแนโน้มที่จะเพิ่มจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นทุกปี โรคธาลัสซีเมีย คือ โรคพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อและแม่สู่ลูก ผู้ที่เป็นโรคนี้เม็ดเลือดแดงจะผิดปกติและแตกง่าย อายุของเม็ดเลือดแดงสั้นลง ด้วยความก้าวหน้าของการวิจัยในโรคธาลัสซีเมีย ปัจจุบันได้มีการสร้างหนูทดลองที่มีลักษณะของโรคธาลัสซีเมียเบต้า ซึ่งมีการขาดหายไปของยีนเบต้าโกลบินข้างหนึ่งของหนูไป ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงต้องการที่จะตรวจวัดอายุขัย (life span) ของเม็ดเลือดแดงของหนูทดลองชนิดนี้ โดยข้าพเจ้าจะตรวจวัดเม็ดเลือดแดงของหนู ทั้งหนูปกติและหนูที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย โดยใช้วิธีการย้อมเม็ดเลือดแดงทั้งหมดในกระแสเลือดของทั้งหนูปกติและหนูธาลัสซีเมียด้วยสารไบโอติน (biotin) แล้วเก็บเลือดมาตรวจหาจำนวนเม็ดเลือดแดงของหนูทั้งหนูปกติและหนูธาลัสซีเมีย โดยใช้เครื่องโฟลไซโทมิทรี (Flow cytometry) ตรวจหาและติดตามทุก ๆ สัปดาห์ แล้วคอยดูแนวโน้มของจำนวนเม็ดเลือดแดงว่าจะมีอัตราลดลงมากน้อยเพียงใด และเปรียบเทียบอัตราการลดลงของจำนวนเม็ดเลือดแดงในหนูปกติและหนูที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย