การคัดแยกและการคัดเลือกเชื้อราที่แยกได้จากดินเพื่อการควบคุมเชื้อราก่อโรคในข้าวโพด

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ปิยะนุช ปิ่นอยู่

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชนิกุล ชูตระกูร

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยานุกูลนารี

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการแยกเชื้อราออกมาจอกส่วนที่เป็นโรค ด้วยวิธี tissue tranplating technique สามารถแยกเชื้อราออกมาได้ทั้งหมด 3 เชื้อ เชื้อรา Curvularia spp. , Fusaium spp. และ Pithomyces spp. จากนั้นทำการแยกเชื้อราจากดินที่ปลูกข้าวโพด จากอาหาร 2 ชนิด คือ potato Dextose Agar (PDA) และ Tap Water Agar (TWA) คัดเลือกได้ทั้งหมด 1190 โคโลนี และเลือกมาทดลอง 88 โคโลนี เมื่อนำเชื้อราที่แยกได้มาทดสอบการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Curvularia spp. บนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA สามารถเลือกเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราดังกล่าวได้ 22 เชื้อ และนำเชื้อรา 22 ตัวนี้ไปทดสอบการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Curvularia spp. บนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA สามารถเลือกเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตในเชื้อราดังกล่าวได้ 22 เชื้อ และนำเชื้อรา 22 ตัวนี้ไปทดสอบการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Fusarium spp. และ Pithomyces spp. บนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA พบว่าเชื้อราที่แยกได้จากดินที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตขิงเชื้อราทั้ง 2 ชนิดได้ดีมี 4 เชื้อ คือ B2 , B4 , B9 และ E8 และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยดีกว่าการใช้สารเคมี Benlet และ Pencozed และเชื้อราที่แยกได้จาก EM (Effective Microorganisms) ซึ่งคือ เชื้อ A1 เป็นเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราก่อโรคทั้ง 3 เชื้อได้ดีที่สุด