การวิเคราะห์ปริมาณสาร PAHs ในอาหารปิ้งและทอด โดยใช้เทคนิค HPLC : กรณีศึกษาโรงอาหาร
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นลินทิพย์ ชูโชติแก้ว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ศึกษาปริมาณสาร PAHs ในอาหารปิ้งและทอด โดยใช้เทคนิค HPLC ทั้งนี้ได้ทำการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสาร PAHs โดยใช้เทคนิค spectrofluorometry จากการเปรียบเทียบวิธีการรีฟลักซ์ด้วยเบสและวิธี sonication พบว่าวิธี sonication ให้ผลการสกัดที่ดีกว่า ทั้งนี้ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดคือ cyclohexane โดยใช้เวลาในการสกัด 15 นาที หลังจากนั้นนำวิธีที่ได้ไปใช้ในการหาปริมาณ PAHs ในหมูปิ้งและไก่ทอดในโรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ พบว่าในหมูปิ้งมีสาร PAHs ได้แก่Naphthalene และ Benzo(b)fluoranthene ในปริมาณเท่ากับ 88.56μ g/g และ7.966μ g/g ตามลำดับ และในไก่ทอดมี Naphthalene, Benzo(a)anthracene, chrysene, Benzo(b)fluoranthene, Benzo(k)fluoranthene,Benzo(b)pyrene ในปริมาณเท่ากับ 241.6 μ g/g, 4.184 μ g/g, 9.328 μ g/g, 2.184 μ g/g, 10.15 μ g/g และ2.493 μ g/g ตามลำดับ This research aims to determine the amount of PAHs in grilled and deep fried food by HPLC technique. Two extraction methods such as reflux by base and sonication were compared by spectrofluorometric method. It was found that sonication method gave higher extraction efficiency. The most suitable solvent for extraction is cyclohexane and the extraction time is 15 minutes. Grilled meat and deep fried chicken in the Faculty of Science’s cafeteria were determined under this method. In grilled meat, two PAHs, Naphthalene and Benzo(b)fluoranthene were found in the amount of 88.56μ g/g and 7.966μ g/g respectively.In deep fried chicken, 6 PAHs : Naphthalene, Benzo(a)anthracene, chrysene, Benzo(b)fluoranthene,Benzo(k)fluoranthene and Benzo(b)pyrene were found in the amount of 241.6 μ g/g, 4.184 μ g/g, 9.328 μ g/g, 2.184 μ g/g, 10.15 μ g/g and 2.493 μ g/g respectively.